“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 138 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย ผู้บาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุจราจรที่นอนรักษาในโรงพยาบาลเกือบทั้งหมดมีสาเหตุจากขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาท ไม่สวมหมวกนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บที่ศีรษะ เลือดออกในสมอง กระดูกคอหัก เป็นอัมพาต แนะประชาชนขับขี่ใกล้-ไกล อย่าชะล่าใจ ให้เคร่งครัดปฏิบัติตามกฎหมาย 3 เรื่องคือ สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง ปฏิบัติตามกฎจราจร และเมาไม่ขับ
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ว่า จากการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีความพร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งเจ้าหน้าที่และระบบส่งต่อผู้บาดเจ็บ ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือเจ้าหน้าที่ทุกคน ขวัญกำลังใจดีมาก แม้จะเป็นวันหยุดยาวที่ทุกคนควรไปอยู่กับครอบครัว แต่เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลทุกแห่งอยู่ทำงานดูแลประชาชน เช่นเดียวกับหน่วยงานต่างๆ มูลนิธิอาสาสมัคร ซึ่งเป็นสิ่งดีๆที่คนไทยมี และพร้อมจะดูแลประชาชนที่เดือดร้อน รู้สึกประทับใจและขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เสียสละดูแลประชาชน
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าวต่อว่า เทศกาลปีใหม่ผ่านไป 3 วัน มีผู้บาดเจ็บจากจราจรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากพอสมควร จากการสอบถามผู้บาดเจ็บที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลพบว่าเกือบทั้งหมดมีสาเหตุจากขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาท ไม่สวมหมวกนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บที่ศีรษะ เลือดออกในสมอง กระดูกคอหัก เป็นอัมพาต เช่น กรณีเด็กนักเรียนที่ขับรถจักรยานยนต์จากโรงเรียนกลับบ้าน คิดว่าระยะทางใกล้ๆ ไม่น่าจะมีอะไร จึงไม่สวมหมวกนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บที่ศีรษะ อาการหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล
ดังนั้น เรื่องการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ จึงสำคัญมาก เดินทางใกล้หรือไกลก็ต้องใช้ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่สมอง ทำให้เสียชีวิตหรือพิการ ข้อมูลที่ได้จากการตรวจเยี่ยมผู้บาดเจ็บพบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลขององค์การอนามัยโลกที่ระบุว่า ปี 2557 ไทยมีผู้เสียชีวิตจากจราจร 24,000 ราย ร้อยละ 70 เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ ต้องรณรงค์ร่วมกับบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ใน 3 เรื่อง คือ การสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่จักรยานยนต์ การปฏิบัติตามกฎหมายจราจร เช่น ไม่ขับรถย้อนศร ไม่ขับรถเร็ว และ ไม่ขับขี่รถและจักรยานยนต์หากเมาสุรา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเกตุจราจร ทั้งนี้ ได้ขอให้ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทุกคน เมื่อรักษาจนอาการดีขึ้นกลับไปบ้าน ให้แนะนำเพื่อน คนใกล้ตัว และ คนในครอบครัว ให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
อย่างไรก็ตาม แม้โรงพยาบาลทุกแห่งจะเตรียมพร้อมเพื่อดูแลรักษาผู้บาดเจ็บทุกคน แต่ก็เป็นเพียงการตั้งรับ สิ่งจำเป็นที่ต้องพร้อมเช่นกันคือ การป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจราจร ซึ่งเป็นต้นเหตุของการบาดเจ็บและเสียชีวิต ทุกหน่วยงาน ทั้งสาธารณสุข มหาดไทย ตำรวจ คมนาคม ท้องถิ่น เอกชน มูลนิธิ อาสาสมัคร รวมทั้งประชาชนและ สื่อมวลชน ต้องช่วยกัน
มกราคม ******************************* 1 มกราคม 2559