รองนายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมการดำเนินงาน คลินิกหมอครอบครัว” เขตเมืองจ.ตรัง จัดบริการได้ทั้งเชิงรุกเชิงรับ โดยความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลและเทศบาล งบประมาณและบุคลากรเพียงพอช่วยลดอัตราการเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ต้องเข้าไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

          

วันนี้(9 กันยายน 2559พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนพ.โสภณ เมฆธนปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะ ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินการ คลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster : PCC) เขตเมืองที่จังหวัดตรัง ซึ่งเป็น 1 ใน 8 จังหวัดที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลในปี 2559 ( บุรีรัมย์ กำแพงเพชร ขอนแก่น เพชรบูรณ์ ตรัง เชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก)เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 4 ชั้น ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยเรื้อรัง ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง ทันตกรรม ชันสูตรโรค กายภาพบำบัดและการแพทย์แผนไทยฯ บริการด้านเวชศาสตร์ปฏิบัติครอบครัว และงานพัฒนาสุขภาพชุมชน เน้น ให้บริการทุกคน ทุกที่ ทุกอย่าง ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารอันทันสมัยขณะนี้มีบริการคลินิกหมอครอบครัวแล้ว 48 แห่ง ใน 16  จังหวัด

สำหรับ จ.ตรัง ได้ดำเนินการคลินิกหมอครอบครัว ใน 27 ชุมชนเขตเทศบาลนครตรัง มีประชากรประมาณ58,000 คน (one big-cluster)ได้จัดระบบบริการดังนี้ 1.เชิงรับ ใช้ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองตรัง  1แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครตรัง  3 แห่ง และศูนย์กายภาพบำบัดและแพทย์แผนไทยเทศบาลนครตรัง 1 แห่ง ให้บริการด้วยแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัวดูแลทุกมิติทั้งช่วงเช้าและบ่าย มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เภสัชกร พยาบาลเวชปฏิบัติและทีมสหวิชาชีพอื่นๆ 2.เชิงรุก มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 6 คน และพยาบาลประจำชุมชน11 คน นักสุขภาพประจำครอบครัว เป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกับชุมชน เน้นดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนทุกกลุ่มวัยตามแผนพัฒนาระบบบริการ( service plan ) และบริบทของแต่ละชุมชน

 

   

 

โดยจุดเด่นของคลินิกหมอครอบครัว จ.ตรัง คือความพร้อมของบุคลากร หน่วยบริการที่เข้าถึงสะดวก การจัดทีมรุก ทีมรับ มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นจุดเชื่อมโยง และความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลตรังและเทศบาลนครตรัง สนับสนุนงบประมาณและบุคลกร ทำให้ทีมสหวิชาชีพครบทุกสาขา จำนวนพอเพียง มีระบบเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลด้วยช่องทางด่วนและการใช้ข้อมูลร่วมกันทำให้ประชาชนทุกคน” ในพื้นที่เป้าหมาย 17,118 ครอบครัว มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและพยาบาลประจำชุมชนดูแล มีหน่วยบริการระดับปฐมภูมิที่เข้าถึงได้ง่ายทุกที่” และสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพได้ ทุกเวลา” ผ่านระบบเทคโนโลยี มีการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสม่ำเสมอจนทำให้อัตราการเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลลดลง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ต้องเข้าไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและพยาบาลประจำชุมชนไปให้บริการถึงชุมชนทุกเดือน ทั้งนี้ อยู่ระหว่าง ทดลองระบบปรึกษาแพทย์นอกเวลาราชการทางเฟสบุค คลินิกหมอครอบครัว รพ.ตรัง”  

 

  

 

          สำหรับจ.ตรังมีผู้พิการ 483 คน เป็นผู้พิการติดเตียง 56  คน มีผู้สูงอายุ 7,447 คน เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง 51  คน ผู้สูงอายุและผู้พิการติดเตียงทุกคนมีผู้ดูแล( care giver) ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและพยาบาลชุมชนไปดูแลที่บ้าน แต่ละชุมชนมีการประเมินปัญหาสุขภาพชุมชนพร้อมทำโครงการแก้ไขใช้งบประมาณจากกองทุนท้องถิ่น      

********************************* 9 กันยายน 2559



   
   


View 14    09/09/2559   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ