“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 129 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มคุณภาพบริการตามแผนพัฒนาระบบบริการใน 19 สาขา ทั้งด้านความเชี่ยวชาญระดับสูง บริการหลัก และบริการพื้นฐาน มอบรางวัลผลงานดีเด่นด้านวิชาการและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2560
วันนี้ (22 สิงหาคม 2560) ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ กทม. นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan Sharing) ประจำปีงบประมาณ 2560ภายใต้แนวคิด “Road to Service Plan 4.0”และมอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น19 สาขาโดยมีผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 19 สาขา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพทุกเขตสุขภาพ และภาคีเครือข่ายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้ปฏิบัติงานในระบบบริการสุขภาพ ร่วมประชุมจำนวน 1,200 คนโดยคัดเลือกผลงานเด่นที่เป็นผลงานวิชาการและนวัตกรรมของทุกเขตสุขภาพมานำเสนอสาขาละ 4 เรื่อง รวม 75 เรื่องจากที่ส่งมาทั้งหมด 345 เรื่อง เพื่อเป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ นำไปปรับใช้ในเขตสุขภาพอื่นๆ ต่อไป
นายแพทย์โสภณกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการตามนโยบายการปฏิรูประบบสุขภาพ และพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ(Service Plan)ในรูปแบบเครือข่ายบริการ 12 เขตสุขภาพ และกทม. มาอย่างต่อเนื่อง จนเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม ได้รับบริการเบ็ดเสร็จภายในเครือข่ายบริการที่เชื่อมโยงไร้รอยต่อ สามารถลดอัตราป่วย อัตราตาย ลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอย การดูแลรักษาโรคที่สำคัญ รวมถึงค่าใช้จ่ายลงได้ สำหรับในปีงบประมาณ 2560 ได้กำหนดให้เขตสุขภาพพัฒนาระบบบริการจาก 13 สาขาเพิ่มเป็น 19 สาขาทั้งด้านความเชี่ยวชาญระดับสูง บริการหลัก และบริการพื้นฐาน ได้แก่ สาขาโรคหัวใจ สาขาโรคมะเร็ง สาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สาขาทารกแรกเกิด สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช สาขาระบบบริการปฐมภูมิและสุขภาพอำเภอ สาขาสุขภาพช่องปาก สาขาตา สาขาไต สาขาโรคไม่ติดต่อ สาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน สาขาการรับบริจาคและการปลูกถ่ายอวัยวะ สาขาการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันและการดูแลแบบประคับประคอง สาขาการพัฒนาระบบบริการเพื่อใช้ยาอย่างสมเหตุผล สาขาศัลยกรรม สาขายาเสพติด สาขาอายุรกรรม สาขาแม่และเด็ก และสาขาออร์โธปิดิกส์
นอกจากนี้ ได้กำหนดแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ พ.ศ. 2561 – 2565 ที่สนับสนุนการให้บริการสาธารณสุขผสมผสาน ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ตามการเจ็บป่วยและความรุนแรงของโรคในภูมิภาคนั้นๆมีการทบทวนแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการให้มีทิศทางที่ชัดเจน และเป็นระบบ ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (ServicePlan) เพื่อตอบสนองแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของสังคมและประชากรตลอดจนความต้องการด้านสุขภาพของประเทศได้ทันท่วงที มีกรอบการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในรูปแบบเครือข่ายบริการแทนการขยายโรงพยาบาลเป็นรายแห่ง สร้างความเชื่อมโยงในภาพของเครือข่ายบริการสามารถรองรับการส่งต่อเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนจะเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานทั่วถึงเป็นธรรม
สำหรับผลงานวิชาการดีเด่นประจําสาขาที่ได้รับโล่และรางวัล จํานวน 19 รางวัล ดังนี้ 1. สาขาโรคหัวใจ ได้แก่เรื่อง หัวใจเดียวกัน (Heart Failure Clinic Pathum Thani Hospital) เขตสุขภาพที่ 4 2. สาขาโรคมะเร็ง ได้แก่เรื่อง ประสิทธิผลของนวัตกรรม “Abdominal support” เพื่อลดปวดและภาวะท้องอืดในผู้ป่วยมะเร็งหลังผ่าตัดช่องท้องหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลลําปาง เขตสุขภาพที่ 1 3. สาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้แก่เรื่อง AOC System, IT support Service Plan เขตสุขภาพที่ 4 4. สาขาทารกแรกเกิด ได้แก่เรื่อง ผลการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพทารกแรกเกิดใน จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10 5. สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ ได้แก่เรื่อง การรับบริจาคอวัยวะและ ปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตายแบบครบวงจร เขตสุขภาพที่ 7 6. สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช ได้แก่เรื่อง รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ในพื้นที่เหตุการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษาตําบลนาเกตุ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เขตสุขภาพที่ 12 7. สาขาออร์โธปิดิกส์ ได้แก่เรื่อง 24 ชั่วโมง Hip Fracture surgery : การพัฒนาระบบงาน Fast track hip surgery ในโรงพยาบาลแพร่ เขตสุขภาพที่ 1 8. สาขาสุขภาพช่องปาก ได้แก่เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมทันตสุขภาพเด็ก ปฐมวัยแบบบูรณาการด้วยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตําบลบัวใหญ่ อําเภอน้ำพอง ปี 2556-2559 เขตสุขภาพที่ 7 9. สาขาไต ได้แก่เรื่อง การเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่าย ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล ชะลอไตเสื่อม เขตสุขภาพที่ 7 10. สาขาตา ได้แก่เรื่อง การพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพระดับปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 5 11. สาขาศัลยกรรม ได้แก่เรื่อง เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน แบบบูรณาการ เขตสุขภาพที่ 6 12.สาขาอายุรกรรม ได้แก่เรื่อง การใช้ SOS score ในการบ่งชี้ผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 2 13.สาขาแม่และเด็ก ได้แก่เรื่อง การพัฒนาการส่งต่อเด็กที่มีภาวะวิกฤตของเขตบริการสาธารณสุขที่ 12 เขตสุขภาพที่ 12 14.สาขาระบบปฐมภูมิและสขุภาพอําเภอ ได้แก่เรื่อง จากก้อนหินตกน้ํา สู่ผีเสื้อกระพือปีก เป็นอําเภอต้นแบบงานศพ งานบุญปลอดเหล้า อย่างยั่งยืน อําเภอคําเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10 15. สาขาโรคไม่ติดต่อ ได้แก่เรื่อง การพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลเครือข่ายในการ รักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันด้วยระบบการรับปรึกษาด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศทางไกล (Telestroke system) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เขตสุขภาพที่ 13 16. สาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ได้แก่เรื่อง การใช้ศาสตร์มณีเวช ในระบบบริการสุขภาพ : เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ปรับกระบวนคิด สร้างสมดุลชีวิต เขตสุขภาพที่ 12 17.สาขาการพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ได้แก่เรื่อง ผลการ พัฒนาระบบสารสนเทศในการติดตามตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยใช้โปรแกรม RDU 2016 โรงพยาบาลบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ 8 18.สาขาการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันและการดูแลแบบประคับ ประคอง ได้แก่เรื่อง นวัตกรรม แบบบันทึกการติดตาม/เฝ้าระวังการใช้ยาระงับปวดกลุ่ม OPIOIDS Palliative care clinic โรงพยาบาลสตูล เขตสุขภาพที่12 19.สาขายาเสพติด ได้แก่เรื่อง การดําเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดสุพรรณบุรี เขตสุขภาพที่ 5
สิงหาคม 2/10-11************************************ 22 สิงหาคม 2560