รพ.แม่สอด จัดประชุมคณะกรรมการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
- โรงพยาบาลแม่สอด
- 5 View
- อ่านต่อ
วันที่ 6 กรกฎาคม 2567 เวลา ๐๙.๓๐ น. นายสมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ ๑๐ เป็นประธานเปิด โครงการพาหมอไปหาประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ของจังหวัดยโสธร โดยมี นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราขการจังหวัดยโสธร พร้อมด้วยนายแพทย์ยุทธนา สุริยะ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร พร้อมด้วย
นางสุภัทราภรณ์ สุริยะ ประธานแม่บ้านสาธารณสุข สาขาจังหวัดยโสธร นำทีมหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสาขาเลิงนกทา คณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คณะผู้บริหารเขตสุขภาพที่ ๑๐ อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชน ร่วมงาน ณ
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ในพิธีเปิดโครงการ นายสมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ ๑๐ ประธานในพิธี นำมวลชนถวายความเคารพหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเปิดกรวยถวายสักการะ กล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และนำผู้เข้าร่วมพิธี ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีพร้อมกัน จากนั้นนายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร กล่าวต้อนรับประธานในพิธี ประธานในพิธีกล่าวเปิดโครงการ หลังพิธีเปิดโครงการได้มีพิธีมอบขาเทียมพระราชทานแก่ประชาชน จำนวน ๑๐ ราย และพิธีมอบชุดตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและซี และเวชภัณฑ์ โดย นายแพทย์ดิเรก ขำแป้น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค มอบให้จังหวัดยโสธรเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการคัดกรองไวรัสตับอักเสบให้กับประชาชน จากนั้นประธานในพิธีพร้อมแขกผู้มีเกียรติที่ร่วมงาน ลงเยี่ยมชมจุดบริการในคลินิกต่างๆ พบปะทีมแพทย์จิตอาสา สหวิชาชีพจิตอาสา อสม. และประชาชนผู้มารับบริการ จำนวน ๑๐ คลินิก
นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัด โครงการพาหมอไปหาประชาชน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการคัดกรองโรคและความเจ็บป่วยที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของประชาชนโดยจัดโครงการให้บริการต่อเนื่องตลอดปี 2567 จำนวน 72 ครั้ง ใน 77 จังหวัด โดยมุ่งเน้นในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร หรือพื้นที่ที่มีการอาศัยอยู่หนาแน่น ซึ่งประชาชนจะมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะการรับบริการโดยแพทย์เฉพาะทาง ในโอกาสปีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567
จังหวัดยโสธรได้จัดบริการประชาชน จำนวน ๑๐ คลินิก คือ
1. คลินิกทันตกรรม
2. คลินิกตาในผู้สูงอายุ
3. คลินิกคัดกรองมะเร็งเต้านม
4. คลินิกคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ/มะเร็งตับ/มะเร็งท่อน้ำดี
5. คลินิกการแพทย์แผนไทย
6. คลินิกกายภาพบำบัด
•โรงทาน “จิตอาสา” จากชมรมพ่อค้าเลิงนกทา
•ซุ้มน้ำดื่ม คสร. และนิทรรศการ “สัปดาห์เภสัชกรรม”
7. คลินิกคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
8. คลินิกคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ลำไส้ตรง
9. คลินิกสุขภาพจิต
10. คลินิกคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้าน
ทีมที่ให้บริการเป็นทีมแพทย์จิตอาสา และสหวิชาชีพจิตอาสา โครงการนี้จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการตรวจรักษาโรคกับแพทย์เฉพาะทางตามคลินิกเฉพาะที่ให้บริการ
นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร กล่าวว่า ในโอกาสปีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 หนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ที่จังหวัดยโสธรร่วมใจกันดำเนินการคือ โครงการพาหมอไปหาประชาชน เฉลิมพระเกียรติ ฯ ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากบริการของทีมแพทย์เฉพาะทาง และทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องต่างภูมิใจในการมีส่วนร่วมและแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อพสกนิกรคนไทย
นายแพทย์ยุทธนา สุริยะ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร กล่าวว่า กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โครงการพาหมอไปหาประชาชน ของจังหวัดยโสธร ได้จัดบริการคลินิกแพทย์เฉพาะทาง จำนวน ๑๐ คลินิก ซึ่งปรับตามบริบทของพื้นที่ โดยคลินิกสำคัญที่ให้บริการเช่นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ โดยการส่องกล้อง ซึ่งพื้นที่จังหวัดยโสธร ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง จากทุกอำเภอและนัดหมายมารับบริการใรครั้งนี้ เพื่อยืนยันผลการตรวจวินิจฉัยและพร้อมให้การรักษาและส่งต่อ นอกจากนี้ คลินิกกระดูกและข้อ ให้บริการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู กลุ่มงานกายภาพบำบัด ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทาสามารถผลิตขาเทียมได้ และพร้อมให้บริการประชาชนที่มีปัญหาเรื่องกระดูกและข้อ นอกจากนี้คลินิกอื่นๆได้ประสานเครือข่ายทุอำเภอเพื่อนัดหมายประชาชนที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทางจัดบริการในครั้งนี้ด้วย นับเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทีมแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขต่างพร้อมใจกันทำโครงการนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติโดยพร้อมใจกัน
สำหรับ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง มีแพทย์ 27 คน ทันตแพทย์ 6 คน เภสัชกร 14 คน พยาบาลวิชาชีพ 131 คน เจ้าหน้าที่อื่นๆ 266 คน มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 31 ไร่ 1 งาน 99.50 ตารางวา ได้ให้บริการด้านสุขภาพอนามัย แก่พี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอเลิงนกทา และพื้นที่ใกล้เคียง จากปี 2520 เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านบริการ วิชาการ ด้านบริหารจัดการ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อให้ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ซึ่งภารกิจของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ได้เจริญก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน