สสจ.อุดรธานีประชุมพัฒนาระบบบริการสุขภาพ NCDs จังหวัดอุดรธานี
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
- 5 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (12 กันยายน 2567) ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารสาธร (หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดระยะเฉียบพลัน) และพิธีเปิดหอผู้ป่วยโลหิตวิทยาและปลูกถ่ายไขกระดูก ชั้น 6 อาคาร 60 ปี อายุรกรรม โดยมี นายแพทย์ภูวเดช สุระโคตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 นายแพทย์สุผล ตติยนันทพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา นายแพทย์ประวีณ ตัณฑประภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาพร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณะเจ้าหน้าที่ แขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมในพิธี
นายแพทย์ภูวเดช สุระโคตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 กล่าวรายงานว่า การก่อสร้างอาคารสาธร (หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดระยะเฉียบพลัน) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้ดำเนินตามนโยบายและข้อสั่งการของกระทรวงสาธารณสุข ตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 โดยมีพื้นที่ใช้สอย 471 ตารางเมตร วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 13,250,000 บาท (สิบสามล้านสองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ซึ่งมีจำนวนเตียงให้บริการทั้งหมด 14 เตียง ประกอบด้วย 1.หอผู้ป่วยชายจำนวน 5 เตียง ห้องแยกสำหรับสังเกตอาการ 1 ห้อง 2.หอผู้ป่วยหญิงจำนวน 5 เตียง ห้องแยกสำหรับสังเกตอาการ 1 ห้อง 3.หอผู้ป่วยพิเศษจำนวน 2 ห้อง แยกเป็นผู้ป่วยชายและหญิง พร้อมมีทีมบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ได้แก่ จิตแพทย์ทั่วไป จำนวน 3 คน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จำนวน 2 คน นักจิตวิทยาคลินิก จำนวน 4 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 12 คน ซึ่งมีเรียนจบเฉพาะทางด้านจิตเวช จำนวน 9 คน เพื่อให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดระดับตติยภูมิ แบบผู้ป่วยใน 24 ชั่วโมง ครอบคลุม 4 มิติ คือ ส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ โดยเฉพาะโรคทางจิตเวชและยาเสพติดที่มีความซ้ำซ้อนในการวินิจฉัยและรักษา โดยรับผู้ป่วยตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป หรือตามดุลยพินิจว่ามีภาวะฉุกเฉินทางจิตที่ต้องรับไว้บำบัดรักษาโนโรงพยาบาล และมีระยะเวลาในการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลที่ค่อนข้างสั้น โดยเน้นให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีภาวะเร่งด่วนฉุกเฉินไม่เกิด 7 – 14 วัน
สำหรับการเปิดหอผู้ป่วยโลหิตวิทยาและปลูกถ่ายไขกระดูก นายแพทย์ประวีณ ตัณฑประภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กล่าวว่า เนื่องด้วยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ และเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายให้กับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพสาธารณสุขเขต 9 “นครชัยบุรินทร์” มีแผนการพัฒนาโรงพยาบาลในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็น Super-tertiary care และ Excellence center จึงได้จัดตั้งศูนย์ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลโดยสมบูรณ์ เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ลดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าไปรักษายังโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ และช่วยเหลือผู้ป่วยในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียงได้มาก ดังนั้น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาจึงได้ดำเนินการปรับปรุงหอผู้ป่วยและสร้างห้องปลอดเชื้อความดันบวกที่หอผู้ป่วยโลหิตวิทยาและปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด(stem cell transplantation unit) ชั้น 6 อาคาร 60 ปี อายุรกรรม ด้วยวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 12,760,803.50 บาท ปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีจำนวนเตียงให้บริการทั้งหมด 14 เตียง ประกอบด้วย 1.ห้องปลอดเชื้อความดันบวกจำนวน 3 เตียง สำหรับผู้ป่วยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด 2.ห้องให้ยาเคมีบำบัดผู้ป่วยมะเร็งโรคเลือดทั้งชายและหญิง จำนวน 11 เตียง มีทีมบุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ได้แก่ 1.โลหิตแพทย์ จำนวน 4 คน 2.พยาบาลเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 6 คน 3.นักเทคนิคการแพทย์ดูแลการเก็บเซลล์ต้นกำเนิด จำนวน 3 คน โดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือ stem cell transplantation ถือเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่จะสามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งโลหิตวิทยา ให้มีชีวิตยืนยาว มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีโอกาสหายขาดได้