สสจ.อุดรธานีประชุมพัฒนาระบบบริการสุขภาพ NCDs จังหวัดอุดรธานี
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
- 5 View
- อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567 เวลา 14.00 น. นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานการประชุม “ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์
และสาธารณสุข (PHEOC) จังหวัดนครพนม” เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ครั้งที่ 5/2567 ผ่านระบบประชุม ทางไกล Zoom Meeting จากห้องประชุมร่มฉัตร ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ร่วมกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จากหน่วยงานในกำกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ทั้ง 12 อำเภอ เพื่อหารือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ผู้บัญาการเหตุการณ์ “ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) จังหวัดนครพนม” ได้ประเมินสถานการณ์อุทกภัย ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและเฝ้าระวัง 6 อำเภอ โดยเฉพาะการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม พร้อมรับทราบสถานการณ์ระดับแม่น้ำโขง สถานการณ์ปริมาณฝนจังหวัดนครพนม รายงานโรคและภัยสุขภาพและการดำเนินการทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ รายงานผลกระทบจาก อุทภัย การดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งรายงานการดำเนินงานตามกลุ่มภารกิจของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operation Center : EOC) จังหวัดนครพนม รวม 12 กลุ่มภารกิจ
จากการเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์อุทกภัย จังหวัดนครพนม ประจำวันที่ 30 กันยายน 2567 พื้นที่เฝ้าระวังผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย 4 อำเภอ 11 ตำบล 23 หมู่บ้าน 246 หลังคาเรือน ประกอบด้วย อำเภอบ้านแพง 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ศรีสงคราม 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน ท่าอุเทน 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน เมืองนครพนม 4 ตำบล 9 หมู่บ้าน โดยยังไม่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรงทางร่างกายและสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ได้รับการเคลื่อนย้าย 12 ราย และทีมเยียวยาจิตใจ (MCATT) ให้บริการประชาชนสะสมทั้งหมดครบ 259 ราย
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวสรุปการหารือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม จากหน่วยงานในกำกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ทั้ง 12 อำเภอ เห็นควรปิด “ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแแพทย์และสาธารณสุข” (Emergency Operation Center : EOC) จังหวัดนครพนม แต่ยังคง เน้นย้ำ! ให้ทุกอำเภอ ยังคงรายงานสถานการณ์ เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งติดตามดูแล กลุ่มเปราะบาง และเยียวยาจิตใจให้บริการแก่ประชาชน จัดเตรียมอุปกรณ์และเวชภัณฑ์สำหรับผู้ได้รับผลกระทบ และประชาสัมพันธ์ สื่อสารความเสี่ยง เผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชาชนทราบต่อไป ทั้งนี้ คณะผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม มีกำหนด จะออกตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ครั้งที่ 2 ในวันพุธที่ 2 ตุลาคมนี้
Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/AHegvUjPDMgXTank/