สบยช. เตือนสุราส่งผลต่อร่างกายของเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า ยิ่งดื่มในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการง่วง มึนงง และสลบได้
- กรมการแพทย์
- 83 View
- อ่านต่อ
องค์การอนามัยโลก (WHO) มอบรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดี SEAR (South-East Asia Region – ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก) 4 เมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี และเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการอบรม เรื่อง การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองสุขภาพดี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2567 โดยมี นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธาน พร้อมด้วย Dr.Jos Vandelaer ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย รวมถึงผู้บริหาร บุคลากรจากกรมอนามัย และองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
วันนี้ (30 ตุลาคม 2567) นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กรมอนามัยได้ขับเคลื่อนภารกิจการส่งเสริมสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการเมืองสุขภาพดี โดยการขับเคลื่อนดำเนินงานร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองสุขภาพดี เพื่อผลลัพธ์นำไปสู่การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ชุมชนสามารถจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม สถานประกอบกิจการได้มาตรฐาน ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และได้รับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มวัย รวมถึงเกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติ โดยในปี 2567 กรมอนามัยได้มีการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการเมืองสุขภาพดีเข้าสู่การยกระดับเป็นเมืองสุขภาวะในระดับสากล ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมีเมืองที่ได้รับรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดี (SEAR: South-East Asia Region – ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก) จำนวน 4 เมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี และเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
“ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดีต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน ซึ่งการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการพัฒนาเมืองและขับเคลื่อนสู่เมืองสุขภาพดี และเป็นเครื่องมือในการจัดทำนโยบาย แผนงาน โครงการ ทั้งยังสามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรอบด้าน นำมาซึ่งมาตรการในการจัดการและป้องกันปัญหาที่มีประสิทธิภาพ กรมอนามัย ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการศึกษา พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ จึงได้จัดอบรม เรื่อง การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองสุขภาพดี เพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานพัฒนาเมืองสุขภาพดีของประเทศไทยและต่อยอดการดำเนินงานสู่เครือข่ายเมืองสุขภาวะในระดับสากล” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
กรมอนามัย / 30 ตุลาคม 2567