กรมอนามัย ชวน ‘ลอยกระทงรักษ์โลก' เตือนงดเล่น พลุ ประทัด ดอกไม้เพลิง
- กรมอนามัย
- 87 View
- อ่านต่อ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขานรับข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ำ 3 มาตรการคุมเข้มด้านสุขาภิบาลอาหาร และการควบคุมคุณภาพน้ำดื่ม น้ำใช้ ในสถานที่เสี่ยงต่างๆ รวมทั้งสถานประกอบการผลิตอาหาร น้ำแข็ง เน้นย้ำหน่วยงานภาคการสาธารสุขทุกพื้นที่บูรณาการกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และดูแลสุขลักษณะของสถานที่ ให้มีความสะอาด ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค
นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภาวะฉุกเฉินกรณีเกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ในโรงเรียน 2 แห่ง จังหวัดระยอง ส่งผลทำให้เด็กนักเรียนเกิดคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ภาวะท้องร่วง จำนวนมากกว่า 1,400 ราย และพบเชื้อ Norovirus และ Salmonella ในกลุ่มผู้ป่วย จากเหตุการณ์ดังกล่าว นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จึงกำชับให้หน่วยงานระดับพื้นที่ตรวจสอบ ข้อเท็จจริง พร้อมเร่งจัดการสุขาภิบาลอาหารตามมาตรฐาน และควบคุม กำกับการจัดการคุณภาพน้ำดื่ม น้ำใช้ที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอุจจาระร่วงในครั้งนี้ กรมอนามัย จึงได้มอบหมายทีมปฏิบัติการอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือทีม SEhRT ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี ประสานภารกิจร่วมกับหน่วยงานในระดับพื้นที่ สำรวจ เก็บตัวอย่างอาหารและน้ำใช้ วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนเชื้อโรคในโรงเรียน สถานประกอบกิจการผลิต โม่น้ำแข็ง และระบบประปาของหน่วยงานท้องถิ่น เบื้องต้นผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า ค่าคลอรีนคงเหลือในน้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำประปาต่ำกว่ามาตรฐาน และพบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในเขียง มีด มือของผู้สัมผัสอาหาร หัวก๊อกน้ำใช้ รวมทั้งพบเชื้อในน้ำดื่มจากเครื่องกรองน้ำ และน้ำใช้ในโรงอาหารของโรงเรียนที่เกิดเหตุ ส่วนในสถานประกอบกิจการผลิตและโม่น้ำแข็งไม่พบเชื้อ เบื้องต้นทีมปฏิบัติการได้แนะนำการเติมคลอรีนในน้ำ พร้อมทำความสะอาดระบบกรองน้ำ ห้องครัว ห้องน้ำของโรงเรียนให้สะอาด รวมทั้งมีการชี้แจงให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในโรงเรียน เพื่อสร้างความตระหนักและมีการจัดการสุขาภิบาลอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
นายแพทย์ธิติ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อไปว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นสัญญาณเตือนให้สถานประกอบกิจการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งกำหนดมาตรการควบคุม กำกับด้านสุขาภิบาลและสุขอนามัย ทั้งในสถานประกอบการที่เกี่ยวกับการผลิตอาหาร น้ำบริโภค รวมทั้งสถานที่เสี่ยงการเกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันแบบกลุ่มก้อน เช่น โรงเรียนศูนย์เด็กเล็ก ค่ายทหาร ดังนี้ 1) สถานประกอบการ ได้แก่ สถานประกอบการผลิตสะสม แบ่งบรรจุและค้าส่งน้ำแข็ง น้ำดื่ม ร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ในเรื่องการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการควบคุม กำกับ การจัดการสุขลักษณะของสถานที่ให้สะอาดไม่เป็นแหล่งของสัตว์แมลงนำโรค ล้างภาชนะบรรจุน้ำแข็ง หรือถังเก็บน้ำแข็งให้สะอาด รวมทั้งการดูแลสุขอนามัยที่ดีของผู้ปรุงประกอบอาหาร ผู้สัมผัสอาหารและน้ำดื่ม โดยหน่วยงานท้องถิ่น ควรทำการตรวจเฝ้าระวังเชิงรุกในพื้นที่รับผิดชอบ หากพบสถานประกอบกิจการในพื้นที่รับผิดชอบมีการดำเนินกิจการที่ไม่ถูกสุขลักษณะหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติท้องถิ่นและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย สามารถออกคำแนะนำทางปกครองทันที เพื่อระงับหรือลดความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน 2) โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ค่ายทหารต้องกำหนดให้มีการตรวจประเมินคุณภาพน้ำใช้ น้ำดื่มอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการตรวจวัดค่าคลอรีนอิสระในน้ำ รวมทั้งตรวจตราระบบกรองน้ำหรือระบบฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ นอกจากนี้ ต้องจัดให้มีจุดล้างมือพร้อมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ในโรงเรียนที่เพียงพอ พร้อมทั้งให้ความรู้แก่นักเรียนในการดูแลสุขภาพและส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีป้องกันโรค และ 3) ประชาชน ต้องมีความตระหนัก ดูแลสุขอนามัยของตนเองและครอบครัวเลือกกินอาหารปรุงสุกใหม่อยู่เสมอ ใช้ช้อนกลางของตนเอง ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือและเลือกรับประทานอาหารในร้านหน่ายอาหารที่สะอาด หากพบอาหารที่มีลักษณะ สี กลิ่นผิดปกติต้องหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
“ทั้งนี้ กรมอนามัย ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังและป้องกันความเสี่ยงทางสุขภาพ โดยสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมกับทุกหน่วยงานในพื้นที่อย่างมีบูรณาการ เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินการลดและป้องกันความเสี่ยงทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยรูปแบบต่าง ๆที่มีความหลากหลายและรุนแรงมากขึ้น จึงเน้นกระบวนการเสริมสร้างความรู้ เสริมทักษะให้กับทีมปฏิบัติการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่นตามประเด็นปัญหาตามบริบทของพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยทางสุขภาพต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วป้องกันก่อนเกิดเหตุ สามารถลดความเสี่ยงสุขภาพของประชาชนได้” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
กรมอนามัย / 14 พฤศจิกายน 2567