“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 122 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข ประชุมระดมความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูง เพื่อปฏิรูประบบสาธารณสุข ยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน
วันนี้ (18 มกราคม 2561) ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปฏิรูปกลไกการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข (Retreat) ประจำปีงบประมาณ 2561 ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมระดมความคิดผู้บริหารระดับสูงครั้งแรกเมื่อปี 2559 ได้ยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ 4 ด้าน (4 Excellences) ครั้งที่ 2 เป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ปฏิรูประบบสาธารณสุข โดยนำผลการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขมานำเสนอ ให้ผู้บริหารระดมความคิดเห็นบูรณาการการทำงาน ร่วมขับเคลื่อนและปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขไปในทิศทางเดียวกัน “ยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน” ให้การดูแลคุณภาพชีวิตคนไทยทุกช่วงวัย ลดความเหลื่อมล้ำ และเสริมความเข้มแข็งการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน
สำหรับการแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขใน 4 ด้าน คือ 1.ด้านระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ โดยจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Board) การตั้งเขตสุขภาพและคณะกรรมการเขตสุขภาพ เพื่อการกระจายอำนาจการบริหารจัดการ และ การปรับบทบาท โครงสร้าง ระบบบริหารสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข 2.ด้านระบบบริการสาธารณสุข มุ่งพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ การแพทย์แผนไทย การแพทย์ฉุกเฉิน และการสร้างเสริมป้องกันและควบคุมโรค 3.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เน้นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน การคุ้มครองผู้บริโภค และ 4.ด้านความยั่งยืนและเพียงพอ ด้านการเงินการคลังสุขภาพ โดยการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐทุกระบบให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็น ธรรม และยั่งยืน
ผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ในปี 2560 ได้พัฒนาความเป็นเลิศใน 4 ด้าน อาทิในด้านระบบบริการเป็นเลิศ สามารถลดอัตราตายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองลงเหลือ 9.10 ต่อแสนประชากร อัตราตายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจลงเหลือ 26.58 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI ได้รับยาละลายลิ่มเลือด และ/หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 82 พัฒนาการจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ที่แผนกผู้ป่วยนอกคู่ขนานกับแพทย์แผนปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 72 ของสถานบริการทั้งหมด ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปร้อยละ 84 จัดบริการคลินิกเฉพาะโรค ผู้รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 20 ของผู้ป่วยนอกทั้งหมด และมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น 406 ล้านบาท จัดโครงการค้นหาวัณโรคเชิงรุกในเรือนจำ คัดกรองด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ช่วยให้ผู้ต้องขังได้รับการตรวจคัดกรองและรับการรักษาเร็วขึ้น พบผู้ป่วย 3,905 ราย ซึ่งสูงกว่าการดำเนินงานที่ผ่านมา มีระบบการดูแลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าในโรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 79 และรพ.สต.ร้อยละ 66 พร้อมทั้งสนับสนุนคู่มือและอุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ในโรงพยาบาล 896 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ พิจารณาคำขออนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ร้อยละ 94 จากทั้งหมด 45,772 รายการ และใช้เวลาในการพิจารณาเร็วขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20
************************************ 18 มกราคม 2561