“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุขจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนางานจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มคุณภาพประสิทธิภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก รองรับการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ อาทิ ยาใหม่ วัคซีนชั้นสูง
วันนี้ (9 เมษายน 2561) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม. แพทย์หญิงมยุรา กุสุมภ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนางานจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561” โดยมีผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ รวมทั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ระดับกรม ระดับเขตและระดับจังหวัด จำนวน 350 คน เข้าร่วมประชุม เพื่อนำมาตรฐานการปฏิบัติงานจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติไปใช้ในหน่วยงานทุกระดับให้เป็นแนวทางเดียวกัน
แพทย์หญิงมยุรา กุสุมภ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ (Roadmap) การพัฒนานวัตกรรมกลุ่มสุขภาพ เช่น การผลิตยาชื่อสามัญทดแทนการนำเข้า การพัฒนายาชีววัตถุและชีวเภสัชภัณฑ์ ยาชนิดใหม่ วัคซีนชั้นสูง เป็นต้น ทำให้ความต้องการงานวิจัยทางคลินิก (clinical research) ที่ศึกษาในมนุษย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กระทรวงสาธารณสุข จึงได้เร่งสนับสนุนการบริหารจัดการงานจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ของหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีคุณภาพและเพียงพอกับโครงร่างการวิจัยที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก โดยนำระบบการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ (National Ethic Committee Acreditation System of Thailand : NECAST) ที่กำหนดโดยคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติไปใช้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยปัจจุบันมีคณะกรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ (REC) ในระดับต่าง ๆ 187 คณะ ทั้งระดับกระทรวง ระดับกรม ระดับหน่วยงานสังกัดกรมวิชาการ และระดับจังหวัด ทำหน้าที่พิจารณาโครงการวิจัยเพื่อปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยให้แก่อาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัย ทำให้โครงการวิจัยมีคุณภาพมาตรฐาน เกิดความปลอดภัยกับอาสาสมัคร
นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น ระยะเวลาในการพิจารณา การทำงานเป็นเครือข่าย การสนับสนุนการทำงาน ทั้งด้านโครงสร้าง ความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงาน ข้อกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเงินการคลัง
ทั้งนี้ มาตรฐานการบริหารจัดการงานจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ตามองค์การอนามัยโลก(Standards and Operational Guidance for Ethics Review of Health-Related Research with Human Participants) กำหนดให้มีการสนับสนุนทรัพยากรแก่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยที่เหมาะสมและเพียงพอ การจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงาน การจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาระบบติดตามการพิจารณารูปแบบดิจิตัล การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
************************** 9 เมษายน 2561