“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุ ให้ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลรักษาที่มีคุณภาพ ทั้งในภาวะปกติและภัยพิบัติ ลดตาย ลดพิการ ประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร.สายด่วน1669 พร้อมให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
วันนี้ (12 กรกฎาคม 2561) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม. นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านอุบัติเหตุฉุกเฉินและสาธารณภัย ครั้งที่ 5 : การปฏิรูประบบการแพทย์และสาธารณสุขฉุกเฉิน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการแพทย์ นำไปพัฒนางานด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ ร่วมประชุมกว่า 800 คน
นายแพทย์เจษฎากล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและส่งต่อ (Emergency Care System : ECS) ระยะ 5 ปี พ.ศ.2561-2564 ที่มีมาตรฐาน ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และยุทธ์ศาสตร์ 20 ปีด้านสาธารณสุข โดยพัฒนาคุณภาพ 4 ด้าน คือ 1.การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล (Emergency Medical Services : EMS) 2.การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ ห้องฉุกเฉิน (ER) 3.การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน (Referral System) และ4.การจัดการสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Disaster) ให้มีความพร้อมบริการตลอด 24 ชั่วโมง พัฒนาระบบบริการและเพิ่มศักยภาพให้โรงพยาบาลทุกระดับมีการประสานสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน และพร้อมรับคนไข้วิกฤติฉุกเฉินให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ได้แก่ การป้องกัน ณ จุดเกิดเหตุ การรักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งจุดบริบาลกรณีเกิดอุบัติเหตุหมู่หรือภัยพิบัติ ให้ประชาชนได้รับการดูแลรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน ด้วยระบบบริการที่มีความพร้อม ทันสมัยในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล มีระบบส่งต่อแบบไร้รอยต่อ เพื่อลดอัตราการตาย ลดความพิการ รวมถึงการสร้างเครือข่ายการทำงานในแต่ละระดับให้มีการประสานสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน รวมทั้งเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพหรือ Health Literacy ที่เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและลดความพิการ ประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร.สายด่วน 1669 พร้อมให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
“ขอชื่นชมทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันจัดการประชุมในวันนี้ ผลงานที่มานำเสนอถือว่าเป็นผลงานที่ดีเยี่ยมสามารถนำไปขยายต่อยอดพัฒนาบริการให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน โดยเฉพาะการจัดระบบที่ห้องฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ฉุกเฉินวิกฤตได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉินประมาณร้อยละ 70 เป็นกรณีที่ไม่เร่งด่วน” นายแพทย์เจษฎากล่าว
ด้านนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การสัมมนาวิชาการครั้งนี้ มีการนำเสนอผลงานวิชาการที่เป็น Best practices ของทุกเขตบริการสุขภาพ ในรูปแบบโปสเตอร์ 3 สาขาหลัก ได้แก่ 1.การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินหรือการพัฒนาระบบ ECS 2.การพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ และ 3.การจัดระบบการแพทย์และสาธารณสุขรองรับสาธารณภัยหรือภัยพิบัติ โดยรูปแบบการจัดสัมมนา เป็นการบรรยายและเสวนาองค์ความรู้ใหม่ๆ และนวัตกรรม ให้ผู้ปฏิบัติงานด้านอุบัติเหตุฉุกเฉินและสาธารณภัยนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐและเอกชน
************************************* 12 กรกฎาคม 2561