“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยกระดับมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ระดับ 5 ดาว ตามเกณฑ์ 5 ดี บริหารดี ประสานงานดี บุคลากรดี บริการดี ประชาชนสุขภาพดี ขณะนี้ผ่านเกณฑ์แล้ว 4,987 แห่ง ตั้งเป้าครบทุกแห่งในปี 2564
วันนี้ (20 กันยายน 2561) ณ ห้องวายุภักษ์แกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบประกาศนียบัตรและเข็มยกย่องแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ติดดาว ระดับ 5 ดาว ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพ ประจำปี 2561 จำนวน 3,322 แห่ง และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
4 จังหวัด ที่สนับสนุนการดำเนินงาน ทำให้รพ.สต.ในจังหวัดติดดาวครบทุกแห่ง
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความเหลื่อมล้ำ โดยยกระดับมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ให้เป็นรพ.สต.ติดดาว ระดับ 5 ดาว ตามเกณฑ์ที่กำหนดใน 5 ด้าน ทำงานร่วมกับทีมหมอครอบครัว และคณะกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เพื่อดูแลประชาชนเป็นองค์รวมแบบผสมผสาน ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพในระดับครอบครัว รู้จักประชาชนในความรับผิดชอบสามารถแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกิดสังคมสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน มีรพ.สต. ติดดาว 5 ดาว 5 ดี แล้วทั้งสิ้น 4,987 แห่ง ตั้งเป้าหมายครบ 9,806 แห่ง ในปี 2564
ทั้งนี้ มาตรฐาน รพ.สต. ติดดาว 5 ดาว 5 ดี ประกอบด้วย 1.บริหารดี เป็นการนำองค์กรและการจัดการดี ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การนำ ธรรมาภิบาล มีแผนกลยุทธ์ด้านสุขภาพ มีระบบรายงานกระบวนการที่สำคัญ2.ประสานงานดี ภาคีมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้ได้มาถึงปัญหาของชุมชน ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ฐานข้อมูลการบริการ ความร่วมมือ ความพึงพอใจ 3.บุคลากรดี มีการจัดอัตรากำลังด้านสุขภาพ สร้างความผาสุข ความพึงพอใจ มีระบบพัฒนาการเรียนรู้ มีการเสริมพลังประชาชนและครอบครัวในการดูแลตนเอง 4.บริการดี มีการจัดบริการครอบคลุมประเภทและประชาชนทุกกลุ่มวัย จัดบริการตามปัญหาพื้นที่ การให้บริการในและนอกสถานบริการ 5.ประชาชนสุขภาพดีเป็นการประเมินผลลัพธ์การทำงาน ทั้งในบทบาทของบุคคลและครอบครัวในการดูแลตนเอง ผลลัพธ์ตัวชี้วัด รวมทั้งการมีนวัตกรรม งานวิจัย การจัดการองค์ความรู้
ฃ
****************************** 20 กันยายน 2561