“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิสถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา ชมรมเวชศาสตร์การจราจรประเทศไทย จัดอบรมโครงการเวชศาสตร์การจราจรและการประเมินสมรรถภาพทางกายของผู้ขับขี่ยานยนต์ แก้ไขปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจร
นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา และชมรมเวชศาสตร์การจราจรประเทศไทย จัดโครงการเวชศาสตร์การจราจรและการประเมินสมรรถภาพทางกายของผู้ขับขี่ยานยนต์ (Medical Fitness to Drive) ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทักษะด้านการจัดการขับขี่ยานยนต์ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการประเมินผู้ขับขี่แก่บุคลากรสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์การจราจร (Traffic Medicine) เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุการจราจร ที่เป็นปัญหาสำคัญของการบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพจากผู้ขับขี่ยานยนต์ การหลับในขณะขับขี่ ปัญหาด้านการมองเห็น และอื่น ๆ โดยนำความรู้ไปดำเนินการขับเคลื่อนงานเวชศาสตร์จราจร ทั้งด้านนโยบาย และการปฏิบัติในพื้นที่ต่อไป
นายแพทย์สุขุมกล่าวต่อว่า เวชศาสตร์การจราจรเป็นศาสตร์แขนงใหม่ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะการบาดเจ็บและทุพพลภาพอันเนื่องมาจากการจราจรของประเทศ เป็นหลักสูตรเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถสำหรับแพทย์ประจำบ้าน นักวิชาการที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจให้มีโอกาสเรียนรู้และนำไปพัฒนาทักษะสำหรับใช้ประโยชน์ในการทำงานและสนับสนุนการพัฒนางานเวชศาสตร์การจราจรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และนำไปสู่การลดอัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางการจราจรต่อไป ซึ่งในหลายประเทศ มีระบบการตรวจประเมินสมรรถนะผู้ขับขี่ยานยนต์ เพื่อออกใบรับรองทางการแพทย์สำหรับการขับขี่ยานยนต์ (Traffic Medicine Certificate) โดยเฉพาะการขับขี่ยานยนต์บางประเภทที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนแล้ว สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างรุนแรงกว่ายานยนต์ทั่วไป เช่น รถบรรทุกก๊าซ รถบรรทุกสารพิษ รถบรรทุกเทเลอร์ รถบรรทุกขนาดใหญ่ เป็นต้น
ทั้งนี้ สถานการณ์การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขนส่งทางบกในประเทศไทยจากการบูรณาการข้อมูล 3 ฐาน คือกระทรวงสาธารณสุข ตำรวจ และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด ในปี 2554 – 2559 พบว่าทุก ๆ ชั่วโมง มีคนไทยเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทางถนนมากกว่าวันละ 65 คน โดยข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในแต่ละวันมีผู้บาดเจ็บกว่า 3,600 คน ต้องนอนโรงพยาบาลวันละ 400 กว่าคน และการศึกษาของศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ พบว่ามีผู้พิการปีละเกือบ 6,000 คน คิดเป็นร้อยละ 4.6 ของผู้บาดเจ็บที่นอนโรงพยาบาล
******************************** 1 มิถุนายน 2562