“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการสัมมนาเครือข่ายด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระดับนานาชาติ ตั้งเป้าหมายประเทศไทยเป็น SMART EOC ปี 2580 มีสมรรถนะและความสามารถในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขครบตามเกณฑ์กฎอนามัยระหว่างประเทศสามารถจัดการกับทุกโรคได้อย่างรวดเร็ว
วันนี้ (23 กันยายน 2562) ที่ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดการสัมมนาเครือข่ายด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระดับนานาชาติ (Public Health Emergency Operation Centers Network (EOC-NET) Annual Meeting 2019) โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้รับเกียรติจากองค์การอนามัยโลกให้จัดสัมมนาระหว่างวันที่ 23 – 25 กันยายน 2562 มีผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจาก EOC-NET และตัวแทนจากประเทศสมาชิกทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 300 คน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข(EOC)จากทั่วโลก
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ กล่าวว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญและยินดีสนับสนุนการพัฒนาด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของประเทศ มีเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับ
การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับมาตรฐานสากล ส่งเสริมการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน และระบบบัญชาการเหตุการณ์ ให้บรรลุผลสำเร็จตามกรอบแนวทางขององค์การอนามัยโลก ทำให้การจัดการภัยพิบัติต่างๆ ทางสาธารณสุขสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเหลือกัน สำหรับในกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยและมาเลเซียจะสร้างเครือข่ายร่วมกับประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ในปีหน้าร่วมกับองค์การอนามัยโลก
“จากการที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง ทำให้ พญ.มากาเร็ต ชาน (Dr.Margaret Chan) ได้ส่งจดหมายถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2558 แสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จในการควบคุมสถานการณ์โรคเมอร์สของประเทศไทยที่สามารถควบคุมไม่ให้มีผู้ป่วยรายใหม่และไม่มีการระบาด ซึ่งสะท้อนถึงความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขไทย ทั้งด้านการบริหารจัดการ การเฝ้าระวัง
ทีมบุคลากรที่มีศักยภาพและความพร้อมสูง เป็นผลจากการให้ความสำคัญและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี
ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญให้กับเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทั้งในประเทศ และต่างประเทศในความร่วมมือและประสานเครือข่ายการทำงานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) ให้มีประสิทธิภาพตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด” ดร.สาธิต กล่าว
ด้าน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้กรมควบคุมโรค พัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน สนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operations Center : EOC) และระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) โดยวางกรอบการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับเขต และระดับจังหวัด ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขครบตามเกณฑ์ของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR 2005) เพื่อมุ่งสู่การเป็น SMART EOC ภายในปี 2580 ให้สามารถจัดการกับทุกโรคและภัยสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบ มีความเป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและพัฒนาสู่แนวหน้าของภูมิภาค และของโลก
******************************************** 23 กันยายน 2562
************************