“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 97 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเปิดตัวเฟชบุ๊คแฟนเพจ “ลูกเล่น by ราชานุกูล” เป็นช่องทางในการสื่อสารกับทีมสหวิชาชีพเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา แนะเคล็ดไม่ลับพ่อแม่เล่นกับลูก เลี้ยงลูกให้เด็ก“คิดเป็น คิดดี คิดให้”
วันนี้ (10 มกราคม 2563) ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต และพญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล เปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 ที่สถาบันราชานุกูล และให้สัมภาษณ์ ว่า ในวันเด็กปีนี้ได้ให้สถาบันราชานุกูล มีนวัตกรรมการพัฒนาเด็กไทย คิดเป็น คิดดี คิดให้ ด้วยสายใยพันผูก ใช้เป็นแนวทางให้ ผู้ปกครองเด็กวัย 3 – 5 ขวบ ใช้การเล่นส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของลูก โดยไม่จำเป็นต้องจัดหาของเล่นหรืออุปกรณ์การเล่นที่ราคาแพง หายาก เน้นให้สมาชิกในครอบครัวมีการสื่อสาร สร้างสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูกผ่านการเล่น สร้างความผูกพันทางอารมณ์ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันในชีวิตประจำวัน ได้แก่การกิน การสัมผัส การเล่น และการเล่า พร้อมเปิดตัวเฟชบุ๊คแฟนเพจ ในชื่อ “ลูกเล่น by ราชานุกูล” เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารแบบออนไลน์ของประชาชนกับทีมสหวิชาชีพผู้มีความเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็ก โดยนำเสนอแนวทางการเล่นและการเลี้ยงดูลูกให้เป็นเด็กไทย “คิดเป็น คิดดี คิดให้” ในรูปแบบคลิปวิดีโอที่สนุกสนานได้ความรู้ พร้อมเคล็ดลับจากกูรูพ่อแม่ที่น่าสนใจมาแลกเปลี่ยนกัน
พร้อมกันนี้ได้ให้ทุกจังหวัดดำเนินการ 2 เรื่อง ได้แก่ การลดอัตราตายของมารดาไม่เกิน 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน และเด็กมีพัฒนาการสมวัยไม่ น้อยกว่า ร้อยละ 85 ผ่านคณะกรรมการอนามัย แม่และเด็ก ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กโดยจัดระบบบริการอนามัยแม่และเด็กที่ได้มาตรฐานสากล สร้างการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม ครอบคลุม ทั้งเด็กปกติ เด็กป่วย และเด็กด้อยโอกาส ดร.สาธิต กล่าว
ด้านนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าจากการสำรวจระดับความฉลาดทางสติปัญญา(IQ) และระดับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กไทยของกรมสุขภาพจิต ในปี 2559 พบ เด็กไทยมีระดับไอคิว 98.23 จุด และร้อยละ 16.7 มีอีคิวต่ำกว่าปกติ กรมสุขภาพจิตได้เร่งพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนไทย 4.0 ซึ่งจะต้องมีสติปัญญาดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดแง่บวกและคิดทำประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม เน้นการให้เด็กไทยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ มีความสุข สนุกกับชีวิต มีแนวทางใหม่ๆในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และแบ่งปันให้ผู้อื่นในสังคม โดยภายในปี 2564 เด็กไทยต้องมีไอคิว ไม่ต่ำกว่า 100 จุด และอีคิว ที่ปกติ ร้อยละ 80
******************* 10 มกราคม 2563
****************************************