“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 12 View
- อ่านต่อ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทย และความร่วมมือภาคีเครือข่าย ส่งผลให้รักษาผู้ป่วยหายแล้วกว่า 25,000 ราย อัตราการเสียชีวิตระลอกใหม่เพียงร้อยละ 0.1 น้อยกว่าทั่วโลก 20 เท่า พร้อมเดินหน้าการแพทย์วิถีใหม่
บ่ายวันนี้ (29 มีนาคม 2564) ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กทม. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดงานเสวนา Smart Living With COVID-19 “Save ทุกลมหายใจ พาคนไทยฝ่าวิกฤติโควิด 19” โดยมีนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ศ.นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ.นายแพทย์นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นายกสมาคมอรุเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมการเสวนา และนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมเสวนาผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เพื่อให้ประชาชน สื่อมวลชน และInfluencer ได้รับทราบและมั่นใจในความพร้อมของมาตรการรองรับสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
นายอนุทินกล่าวว่า ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 รัฐบาลได้บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับนโยบาย ไปจนถึงจังหวัดและพื้นที่ ทำให้ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพระบบรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลก และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก 7 เท่า (ข้อมูล 14 มี.ค.2564) เมื่อเทียบเฉพาะการระบาดระลอกใหม่พบว่าอัตราการเสียชีวิตเพียงร้อยละ 0.1 ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก 20 เท่า และมีผู้ป่วยรักษาหายแล้วจำนวนกว่า 25,000 ราย อีกทั้งขณะนี้ ได้จัดบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 กลุ่มเป้าหมายระยะแรก ในพื้นที่ระบาด และพื้นที่เศรษฐกิจตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งมีวัคซีนเพียงพอ ขอให้ประชาชนมารับการฉีดตามนัดหมายให้ครบทั้ง 2 เข็ม เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในพื้นที่ สร้างความมั่นใจนโยบายของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19
ด้านนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ ได้ปรับแนวทางบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ มีเป้าหมายให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Personal-based medical service) พร้อมทั้งมีการจัดระบบให้บริการรูปแบบใหม่ (Redesigned) และนำระบบดิจิทัลมาใช้ให้บริการผู้ป่วยมากขึ้น มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์มาปรับใช้ระบบการทำงานของโรงพยาบาลให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาทิ ระบบ Telemedicine เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อและสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการทางการแพทย์ เป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มช่องทางเข้าถึงการรักษาอย่างรวดเร็ว เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยและบุคลากร ลดความแออัดในโรงพยาบาล ขณะที่ยังคงมีความเป็นธรรมในการมารับบริการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะช่วงการระบาดของโควิด 19 ได้จัดทำแผนประคองกิจการในการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤติสำหรับสถานพยาบาล เพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เป็นแผนแม่บทของโรงพยาบาลในการบริหารกำลังคน ทรัพยากร งบประมาณในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ได้พัฒนารูปแบบระบบบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ มุ่งให้ประชาชนปรับตัวให้เข้ากับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ให้โรงพยาบาลนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ การให้บริการทางการแพทย์ ตั้งแต่การคัดกรอง จัดคิวผู้มารับบริการ รวมถึงการให้บริการห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน เพื่อลดความแออัด ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ
***************************************** 29 มีนาคม 2564