ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 15 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยกระทรวงสาธารณสุขพร้อมผลักดันสมุนไพรไทยสู่สมุนไพรโลก ส่งเสริมตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ให้สามารถแข่งขันด้านอุตสาหกรรมเป็น Herbal Champions ตั้งเป้าปี 2565 สร้างรายได้ 7.8 หมื่นล้านบาท
วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2564) ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปาฐกถาพิเศษในประเด็น "ยุทธศาสตร์สมุนไพรไทย สู่สมุนไพรโลก" ผ่านระบบออนไลน์ ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ขับเคลื่อนให้สมุนไพรไทยเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ตั้งเป้าปี 2565 สมุนไพรไทยจะสร้างมูลค่าได้ 7.8 หมื่นล้านบาท โดยใช้ 3 กลไกหลัก คือ 1.เชิงนโยบาย ผ่านคณะกรรมการสมุนไพรแห่งชาติ 2.กฎหมาย ผ่าน พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 และ 3. กระบวนการขับเคลื่อน โดยมีเมืองสมุนไพร 14 จังหวัด Herbal Champion 12 รายการ ได้แก่ กวาวเครือขาว กระชายดำ ขมิ้นชัน บัวบก มะขามป้อม กระชายขาว พริก ฟ้าทะลายโจร กระเจี๊ยบแดง หญ้าหวาน ว่านหางจระเข้ และไพล นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรที่เป็นนโยบายรัฐบาล คือ กัญชา กัญชง กระท่อม ปัจจุบันตลาดสมุนไพรโลกมีมูลค่าการบริโภคกว่า 54,957 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนประเทศไทยมีมูลค่าการบริโภคสมุนไพรอยู่ที่อันดับ 8 ของโลก ประมาณ 1,483.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการขยายตัวของตลาดร้อยละ 10.3 โดยผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ 3 อันดับแรกคือ กลุ่มอาหารเสริมชนิดพร้อมดื่ม, กลุ่มเพื่อการรักษาอาการไอ หวัด แพ้อากาศ และกลุ่มอาหารเสริม ซึ่งแนวโน้มของสมุนไพรไทยในอนาคตมีโอกาสเติบโตสูง รวมทั้งมีการนำเข้าวัตถุดิบ สารสกัด และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากต่างประเทศประมาณ 12,606 ล้านบาทต่อปี และมีการนำสมุนไพรมาใช้ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด 19 ฟ้าทะลายโจร และกระชายขาว เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก และช่วยต่อยอดไปยังสมุนไพรชนิดอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ นอกจากนี้จะผลักดันให้สมุนไพรไทยเป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือใช้รักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพิ่มการเข้าถึงของประชาชนซึ่งจะทำให้ลดความแออัดในโรงพยาบาลได้
ดร.สาธิตกล่าวต่อว่า สำหรับกัญชาที่เป็นพืชเศรษฐกิจของโลกมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.4 แสนล้านบาท กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจ องค์กรการศึกษา ประชาชนที่มีความพร้อมร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ปลูกและนำส่วนที่ไม่ใช่สารเสพติดมาใช้ประโยชน์ ต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้รับซื้อส่วนที่เป็นสารเสพติด เช่น เมล็ด ช่อดอก สกัดเป็นสารสำคัญ เพื่อนำใช้ในการรักษาทางการแพทย์ และกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ สร้างเศรษฐกิจให้ชุมชน ดังนั้น การพัฒนาสมุนไพรไทยสู่สมุนไพรโลก จึงต้องพัฒนาแบบครบห่วงโซ่ตั้งแต่ 1. ต้นทาง เลือกสมุนไพรที่มีความจำเพาะของไทย สายพันธุ์, เมล็ดพันธุ์, มาตรฐานแปลงปลูก มีคุณภาพตรงความต้องการตลาด 2. กลางทาง พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพและอื่นๆ ให้มีความหลากหลายทันต่อความต้องการ มีนวัตกรรมต่อยอด มีการลงทุนวิจัย 3. ปลายทาง สร้างความน่าเชื่อถือสมุนไพรไทยให้โลกยอมรับ สร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่รู้จัก สร้างความรู้ความเข้าใจประชาชนในการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมสมุนไพรเพิ่มขึ้น และเป็น Herbal Champions ของประเทศ
******************************4 พฤศจิกายน 2564