สธ. สอบสวนโรคกรณี เด็กนักเรียนระยอง 2 แห่ง ป่วยเป็นอุจจาระร่วงหลังร่วมงานกีฬาสี ส่วนใหญ่อาการป่วยไม่รุนแรง
- สำนักสารนิเทศ
- 729 View
- อ่านต่อ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย รพ.ระยอง ขยายบริการ “เจอ แจก จบ” ไปถึง รพ.สต. และโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ช่วยให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีอาการเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้นและรวดเร็ว พร้อมกำชับให้หน่วยบริการสาธารณสุขเร่งติดตามการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นก่อนเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะในกลุ่ม 608 เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตหากติดเชื้อ
วันนี้ (21 มีนาคม 2565) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหาร ติดตามการดำเนินงานในสถานการณ์โรคโควิด 19 พร้อมเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลระยอง และกล่าวว่า โรงพยาบาลระยอง เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรม มีการพัฒนาการดำเนินงานและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการ เช่น Smart OPD, ระบบคิวลดความแออัด, ระบบทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น และเชื่อมโยงบริการโรงพยาบาลสาขา 4 มุมเมือง ได้แก่ สาขาเกาะหวาย สาขาเนินพระ สาขาตะพง และคลินิกชุมชนอบอุ่น โดยเทศบาลนครระยอง ทำให้ช่วยลดความแออัดในการบริการได้อย่างดี สำหรับในช่วงสถานการณ์ โควิด 19 จังหวัดระยองพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เนื่องจากมีประชากรทั้งตามทะเบียนราษฎร์ ผู้ที่เดินทางมาทำงาน และกลุ่มแรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยระลอกเดือนมกราคม - 21 มีนาคม 2565
มีผู้ติดเชื้อสะสม 22,762 ราย
นพ.เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า ผู้ติดเชื้อระลอกใหม่นี้ ส่วนใหญ่อาการไม่มาก กระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นให้การดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือ “เจอ แจก จบ” เพื่อสำรองเตียงไว้ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางและอาการหนัก และเนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่พบการติดเชื้อในโรงงานจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โรงพยาบาลระยองจึงได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการใช้ห้องพยาบาลของโรงงานจัดบริการ “เจอ แจก จบ” โดยจัดชุดดูแลตัวเอง ประกอบด้วย ปรอทวัดไข้ อุปกรณ์วัดค่าออกซิเจนในเลือด หน้ากากอนามัย ถุงขยะติดเชื้อ น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น ส่งไปยังสถานประกอบการต่างๆ รวมถึงยังกระจายไปที่ รพ.สต. ส่วนผู้ป่วยในระบบ HI ให้อสม.เป็นผู้นำไปแจกจ่ายถึงบ้าน
“สำหรับช่วงก่อนที่จะถึงเทศกาลสงกรานต์นี้ กระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจสำคัญที่ต้องขอให้บุคลากรสาธารณสุขทุกคนร่วมใจกันอีกครั้ง ในการเร่งฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม 608 ให้ได้มากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงอาการหนักและเสียชีวิตสูงที่สุดหากเกิดการติดเชื้อ” นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว
********************************************** 21 มีนาคม 2565
**********************************************