ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 15 View
- อ่านต่อ
องคมนตรี ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนางานของโรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดเชียงใหม่ เผย ปีงบประมาณ 2565 การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้มากกว่า 200 ราย พร้อมพัฒนาระบบบริการสุขภาพเป็น Smart Hospital
วันนี้ (26 ธันวาคม 2565) ที่โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดเชียงใหม่ พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ในฐานะรองประธานกรรมการมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล พร้อมด้วย นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุขและกรรมการมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล คณะผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนางานสำคัญของโรงพยาบาล พร้อมให้กำลังใจบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และมอบของเยี่ยมให้กับผู้ป่วยที่มารับบริการ
นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ได้น้อมนำศาสตร์พระราชาและแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน สร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลที่ดี มีระบบบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาระบบงานปฐมภูมิด้วยกลไกลคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) โดยปีงบประมาณ 2565 มีการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้ง 4 ด้าน คือ การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง มากกว่า 200 ราย,การจัดการปัญหาขยะ, การจัดการปัญหาหมอกควันไฟและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และการแก้ไขปัญหาดูแลผู้ป่วย รวมถึงบริการฉีดวัคซีนโควิด 19
นอกจากนี้ ยังดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำ ป้องกันผู้เสพรายใหม่, กลางน้ำ ปรับสภาพแวดล้อม จัดโครงการ “คืนคนดีสู่สังคมและครอบครัว” และปลายน้ำ นำผู้เสพติดเข้าสู่ระบบรักษา โดยจัดตั้งคลินิกบำบัดยาเสพติด (ฟ้าวันใหม่) และจัดตั้งคลินิกบำบัดเคลื่อนที่ มีผู้เข้ารับการบำบัดกว่า 168 ราย พร้อมพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อใกล้บ้านใกล้ใจ ออกให้บริการเชิงรุกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เยี่ยมบ้านติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน รวมถึงพัฒนาระบบการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ ให้การลำเลียงผู้ป่วยแล้ว 9 ราย ส่วนการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Hospital มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบบริการ เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ลดระยะเวลาการเข้ารับบริการของผู้ป่วย และลดขั้นตอนการดำเนินงาน
สำหรับแผนการพัฒนาในระยะต่อไป ได้ตั้งเป้าหมายเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพระดับพื้นที่ ในประเด็นอาหารสุขภาพ, อาหารปลอดภัยและลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ พัฒนาระบบบริการ ขยายงานดูแลการแพทย์แผนไทย และระบบความปลอดภัยระหว่างการส่งต่อผู้ป่วย
*************************************** 26 ธันวาคม 2565
*********************************************************