ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 14 View
- อ่านต่อ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย การให้บริการด้านสาธารณสุขมูลฐานที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกพื้นที่ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปัจจัยทางสังคมและการค้า และการมีส่วนร่วมทางสังคมและชุมชน เป็น 4 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยประเทศไทยมีระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง ประชาชนมีชีวิตที่ดีและบรรลุการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ที่ Palais des Nations นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 76 และกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมภายใต้หัวข้อ “ครบรอบ 75 ปี องค์การอนามัยโลก : การให้ชีวิตที่ดีต้องร่วมกันขับเคลื่อนสุขภาพดีถ้วนหน้า” (WHO at 75 : Saving lives, driving health for all)
โดยนายอนุทิน ได้ย้ำว่าประเทศไทยมี 4 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีและบรรลุการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ได้แก่ 1.การให้บริการด้านสาธารณสุขมูลฐานที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสุขภาพระดับอำเภอและระบบการส่งต่อผู้ป่วย ทำให้มีการให้บริการสาธารณสุขแบบบูรณาการ ตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การเฝ้าระวัง การรักษา การฟื้นฟู และการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นปัจจัยหลักในการสร้างความเท่าเทียมการเข้าถึงบริการสุขภาพ ภายใต้แนวทางการดูแลสุขภาพของประชาชนแบบองค์รวม ที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ ภาคเอกชนและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกันขับเคลื่อน โดยมีสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และพันธมิตร ช่วยสนับสนุนเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของการรักษาพยาบาล และมหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพให้มีทั้งความสามารถและจริยธรรม
3.ปัจจัยสังคมและการค้า กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้นำร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และพันธมิตรอื่น ๆ เช่น ภาคประชาสังคม สนับสนุนการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ซึ่งขอยืนหยัดว่าไม่สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า และ 4.การมีส่วนร่วมทางสังคมและชุมชน ทำให้เกิดความยืดหยุ่นของระบบสุขภาพ โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกว่า 1 ล้านคนเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
********************************** 24 พฤษภาคม 2566
****************************************