อย. ร่วม สสจ.นครปฐม และตำรวจ จับร้านยาลอบขายวัตถุออกฤทธิ์ เตือนโทษหนักทั้งปรับและจำคุก
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 30 View
- อ่านต่อ
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นางพวงเพ็ชร ขุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มอบนโยบายการดูแลสุขภาพพระสงฆ์แบบองค์รวม เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตพระสงฆ์-สามเณร
โดยดูแลสุขภาพทุกมิติตามหลักพระธรรมวินัย โดยจัดให้มีการดำเนินโครงการที่สำคัญ คือ 1.โครงการเทิดพระเกียรติในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา โดยจะดูแลสุขภาพพระสงฆ์ 72,000 รูป ในทุกมิติ 2.การจัดทำวัดส่งเสริมสุขภาพและพระนักเทศน์ โดยให้วัดเป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพ และพระนักเทศน์ให้องค์ความรู้สุขภาพแก่ประชาชน 3.การจัดทำระบบรักษาพระสงฆ์ที่คำนึงถึงพระธรรมวินัย 4.กุฏิชีวาภิบาล ดูแลพระสงฆ์อาพาธที่ติดเตียงหรือระยะสุดท้าย 5.จัดอบรมพระคิลานุปัฏฐาก เป็นผู้ดูแลพระสงฆ์อาพาธเสมือนเป็น อสม. ให้เป็นผู้บริบาลพระสงฆ์ติดเตียงหรือ Care Giver ถือเป็นวิชาชีพมีฐานค่าใช้จ่ายรองรับและมีการใช้ระบบเทเลเมดิซีนเข้าไปดูแล 6.การเข้าถึงบริการของพระสงฆ์ พศ.จะปรับข้อมูล Big Data เชื่อมโยงทั้งหมดเข้าสู่การดูแล เร่งเชื่อมข้อมูลระบบสุขภาพ ตามนโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ให้พระสงฆ์ได้รับการรักษาทุกที่เช่นกันตามที่กฎหมายบัญญัติ และ 7.การดูแลพระสงฆ์ที่ไปในดินแดนพุทธภูมิและผู้ที่ไปแสวงบุญ ณ ดินแดนพุทธภูมิ สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อถวายพระราชกุศลสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกด้วย
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า กรมการแพทย์
โดยโรงพยาบาลสงฆ์ มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์สามเณรอาพาธทั่วประเทศ ซึ่งในวโรกาสพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ได้ดำเนินโครงการถวายการดูแลสุขภาพให้กับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และผู้นำทางศาสนา จำนวน 72,000 รูป/ราย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการพัฒนาโรงพยาบาลจัดบริการสำหรับพระสงฆ์อาพาธที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย ลงพื้นที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จำนวน 21 แห่ง อีกทั้ง
ยังดำเนินโครงการจัดตั้งกุฏิชีวาภิบาล จัดให้มีการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐากในการดูแลพระระยะท้าย หลักสูตร
1 เดือน เป้าหมายภายใน 3 ปี จะดำเนินจัดตั้งกุฏิชีวาภิบาลครบทุกจังหวัด เพื่อเป็นสถานที่ดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้ายตามหลักพระธรรมวินัย ซึ่งมีพระคิลานุปัฏฐากดูแลแบบประคับประครอง พร้อมกันนี้ ยังได้ดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก หลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (อสว.) เพื่อให้มีความรู้ความสามารถมีทักษะในการประเมินความเจ็บไข้ และสามารถใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เบื้องต้นได้ และยังส่งทีมแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร จากโรงพยาบาลต่างๆในสังกัดกรมการแพทย์ให้บริการดูแลพระสงฆ์ที่เดินทางไปในดินแดนพุทธภูมิและผู้ที่ไปแสวงบุญ ณ ดินแดนพุทธภูมิ สาธารณรัฐอินเดีย
ด้านนายแพทย์อภิชัย สิรกุลจิรา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงฆ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์โรคพบบ่อยพระภิกษุสามเณร ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดผิดปกติ น้ำหนักเกิน ปัญหาการสูบบุหรี่ ซึ่งบางครั้งเกิดจากข้อจำกัดการดูแลสุขภาพ ต้องอาศัยชุมชนช่วยกันเช่นพิจารณาอาหารถวายหรือใส่บาตร ทั้งนี้ โรงพยาบาลสงฆ์ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการดูแลสุขภาพพระสงฆ์สามเณรในทุกมิติตามหลักพระธรรมวินัย เพื่อให้พระสงฆ์สามเณรมีสุขภาพที่ดี สืบทอดพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาต่อไป
#กระทรวงสาธารณสุข #กรมการแพทย์ #พัฒนาการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ครบทุกมิติ 14 พฤศจิกายน 2566