กรม สบส. ร่วม ตำรวจ ปคบ. บุกรวบหมอนวดเถื่อน ในร้านเสริมสวยย่านห้วยขวาง
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- 14 View
- อ่านต่อ
อย. สนองนโยบายรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ความสำคัญต่อการรับเรื่องร้องเรียนของพี่น้องประชาชน จึงประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการจัดการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Good Complaint Handling Practice : GCHP) เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการด้านการจัดการเรื่องร้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ พร้อมผลักดันให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศมีความเป็นเลิศด้านการจัดการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายในปี 2569
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการรับเรื่องร้องเรียนของพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของประชาชน จากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนางานบริการรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการจัดการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Good Complaint Handling Practice : GCHP) เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทย และถ่ายทอดหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้หน่วยงานในระดับภูมิภาคใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยขณะนี้มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 16 จังหวัด ครอบคลุม 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นครสวรรค์ นครนายก สุพรรณบุรี สมุทรปราการ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครพนม ชัยภูมิ นครราชสีมา อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช พัทลุง อย. จึงได้มอบโล่เชิดชูเกียรติเพื่อแสดงความยินดีในงานประชุมวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 วันที่ 7 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุม Grand Diamond Ballroom อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี
เลขาธิการฯ อย. กล่าวเพิ่มเติมว่า อย. มุ่งผลักดันให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด เป็นหน่วยงานที่เป็นเลิศด้านการจัดการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (GCHP) ภายในปี พ.ศ. 2569 เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการด้านการจัดการเรื่องร้องเรียนให้สามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ นำไปสู่กลไกที่ชัดเจนในการจัดการปัญหาโฆษณาและการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) สามารถลดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทย ตามเป้าหมาย “ผู้บริโภคปลอดภัย ผู้ประกอบการพัฒนาไกล ระบบคุ้มครองสุขภาพไทยยั่งยืน”
*******************************************
วันที่เผยแพร่ข่าว 7 สิงหาคม 2567 / ข่าวแจก 221 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567