“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินระดับชาติประจำวันนี้ (18 มีนาคม 2553) ว่า จากการติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยและได้รับบาดเจ็บในวันที่ 17มีนาคม 2553ศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินพบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 9ราย ท้องเสีย 2 ราย ใจสั่น 1 ราย ทั่วไป 6 ราย โดยเข้ารับการที่รพ.กลาง รพ.วชิระ รพ.ราชวิถี และรพ.ตำรวจ ขณะนี้ผู้ป่วยทั้งหมดกลับบ้านแล้ว ทั้งนี้มียอดผู้ป่วยสะสมที่ยังพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งหมด 8 ราย ดังนี้ รพ.พระมงกุฎ 2 รายเป็นทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิง รพ.วชิระ 1 รายเป็นไข้ทั่วไป รพ.ราชวิถี 1 รายเป็นผู้ที่มาชุมนุมและได้รับอุบัติเหตุรถชน กระดูกหัก รพ.หัวเฉียว 1 ราย มีอาการชัก รพ.ตำรวจ 2 ราย โดยเป็นไส้ติ่งอักเสบ 1 ราย ชักเกร็ง 1 ราย และที่รพ.ศรีวิชัย 1 ราย มีอาการชักเกร็ง
สำหรับสถานการณ์ของการชุมนุมในภาพรวม จากการประเมินสถานการณ์ของศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฯ ได้รับรายงานว่า จำนวนผู้ชุมนุมมีแนวโน้มลดลง แต่มีความพยายามที่จะระดมคนเข้ามาเพิ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเรื่องที่น่าเป็นห่วง 3 เรื่อง ได้แก่ 1.สุขภาพของผู้ชุมนุม เนื่องจากอากาศร้อนจัดและวานนี้มีฝนตกลงมา โดยกระทรวงสาธารณสุขได้รับการประสานงานจากผู้ชุมนุมว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้สั่งการให้นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ตัวแทนของผู้ชุมนุมมารับยาได้ที่กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 5,000 ชุด ประกอบด้วยยาสามัญประจำบ้าน 2,000 ชุด ยาแก้ท้องเสีย 1,000 ชุด เกลือแร่ 1,000 ชุด และยาแก้ผื่นคัน 1,000 ชุด