เป็นหนทางลดปัญหาท้องไม่พึงประสงค์ และป้องกันปัญหาทำแท้ง ด้านผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์เผยไทยเป็นประเทศแรกในประเทศกำลังพัฒนา ที่ใช้ยาต้านไวรัสป้องกันการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก สูตรเดียวกับประเทศตะวันตก

          เช้าวันนี้ (24 พฤศจิกายน 2553) ที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ศ.กิตติคุณนายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และน.ส.สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ร่วมกันแถลงข่าวงานรณรงค์วันเอดส์โลกประจำปี 2553 ซึ่งในปีนี้ จะจัดงานในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.00น.-18.00 น. ที่บริเวณลานหอนาฬิกา สวนจตุจักร ในปีนี้เป็นปีแรกที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดงานร่วมกับองค์กรเอกชนอย่างเป็นทางการเพื่อให้มีพลังมากขึ้นในการณรงค์ ซึ่งปีที่ผ่านมาแต่ละองค์กรแยกกันจัดกิจกรรม กิจกรรมจะมีทั้งนิทรรศการรณรงค์ให้ความรู้ และการแสดงต่าง ๆ ประกอบกัน
 
          นายจุรินทร์กล่าวว่า วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันเอดส์โลก แนวคิดหลักการรณรงค์ในปี 2553 นี้ คือ สิทธิทางเพศ สิทธิด้านเอดส์ คือสิทธิมนุษยชน (Universal Access and Human Rights) และในวันที่ 1 ธันวาคมปีนี้ มีการเชิญชวนให้รณรงค์ ส่องแสงเพื่อสิทธิ (Light For Rights)  คือการมองเห็นแสงสว่างเพื่อให้นึกถึงสิทธิ์ โดยสถานการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกมีประมาณ 60 ล้านคน เสียชีวิตแล้วประมาณ 25 ล้านคน ยังมีชีวิตอยู่ 35 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ประมาณ 1,161,244 คน เสียชีวิต 644,128 คน ขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 522,548 คน คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 10,853 คน ส่วนใหญ่เป็นชายมีเพศสัมพันธ์กับชายร้อยละ 33 และแม่บ้านที่ติดเชื้อจากสามีหรือคู่นอนประจำร้อยละ 28
                       
          รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ ขณะนี้มีตัวเลขอยู่ใน 2 ระบบ คือในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งโรคเอดส์เป็นโรคหนึ่งในโครงการรักษาพยาบาลฟรี ในปี 2553 มีการลงทะเบียนสะสม 214,661 ราย มีผู้มารับยาตามโครงการประมาณ 130,000 ราย และลงทะเบียนในระบบประกันสังคมประมาณ 80,000 ราย ส่วนระบบสวัสดิการข้าราชการไม่มีตัวเลขรวบรวมไว้ ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการขยายซีแอลยาต้านไวรัสออกไปจนหมดสิทธิบัตร 2 ตัว คือ เอฟาไวเรนซ์ (Efavirenze) และคาเล็ตตร้า (Kaletra) ขณะนี้การดูแลรักษาโรคเอดส์ในไทยมีการใช้เงินกองทุนโลก โดยรับภาระในการรักษาแรงงานต่างด้าวประมาณ 2,700 คนในปัจจุบัน ได้รับรายงานว่าน่าจะเป็นประเทศแรกในโลกที่ให้การดูแลรักษาถึงขั้นนี้
 
            นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า เป้าหมายการรณรงค์โรคเอดส์ของประเทศไทยจะเน้นทั้ง 3 ส่วน คือ1.การป้องกัน มีเป้าหมายลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลงให้ได้ปีละอย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี 2554 2.การรักษาพยาบาล มีเป้าหมายให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการและเข้าถึงยาได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง และ3.เน้นให้ผู้ป่วยและครอบครัว เข้าถึงระบบสวัสดิการสังคมของรัฐบาลได้ไม่แตกต่างจากประชาชนทั่วไป โดยไม่รังเกียจกีดกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
 
                                
           ทั้งนี้ สำนักโรคเอดส์ กรมควบคุมโรค ร่วมกับสวนดุสิตโพล ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของผู้ปกครองต่อความต้องการสอนเพศศึกษาในสถานศึกษา โดยสำรวจในกลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 676 คน เมื่อวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2553   ผลการศึกษาสรุปได้ 3 ประเด็นใหญ่ๆ ประเด็นที่ 1 พบว่าเกินกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยกับการสอนเพศศึกษาในสถานศึกษา โดยมีความเห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้ปกครองจะต้องช่วยกันผลักดันและร่วมมือกันอย่างจริงจังในการผลักดันให้มีการสอนเพศศึกษาในสถานศึกษา ประเด็นที่ 2 คือเกินกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยว่าการสอนเพศศึกษาจะช่วยลดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ และจะช่วยลดผลกระทบที่ตามมาทั้งต่อตนเองและครอบครัว ไม่นำไปสู่การทำแท้ง และประเด็นที่ 3 ร้อยละ 60.51 ไม่คิดว่าการสอนเพศศึกษาจะทำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น 
 
          อย่างไรก็ตาม พบว่ามีประเด็นที่จะต้องมีการปรับปรุง โดยพบว่ามีผู้ปกครองร้อยละ 47.63 ที่ให้คำปรึกษากับเด็กในปกครอง เรื่องเพศสัมพันธ์หรือเพศศึกษา เช่นเรื่องพัฒนาการทางร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น การมีประจำเดือน การมีผันเปียกค่อนข้างบ่อย และมีผู้ปกครองเพียงร้อยละ 51.62 ที่ให้คำปรึกษาแก่บุตรหรือเด็กในปกครองในการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ค่อนข้างบ่อย ซึ่งคิดว่าควรร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป เพราะผู้ปกครองจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้นายจุรินทร์กล่าว
 
          ด้าน ศ.กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ กล่าวว่า ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามแนวทางองค์การอนามัยโลก ในการที่จะทำให้คนที่ติดเชื้อและยังไม่มีอาการได้รับการดูแลรักษาที่เร็วขึ้น โดยไม่รอให้ระดับภูมิต้านทานต่ำลงถึง 200 ก่อนแล้วค่อยเริ่มให้ยาต้านไวรัส การที่เริ่มให้ยาต้านไวรัสเร็วขึ้น จะทำให้ผู้ติดเชื้อนั้นแพร่เชื้อให้คนอื่นน้อยลง ดังนั้นการรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัสนับว่าเป็นการป้องกันที่ดีในขณะนี้ เห็นได้ว่าในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่แต่ละประเทศทั่วโลก เริ่มให้ยาต้านไวรัสเร็วขึ้น มีผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัสแล้ว 2-3 ล้านคน อัตราการติดเชื้อรายใหม่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในอาฟริกาลดลงมาเป็นลำดับ ในไทยก็มีอัตราการติดเชื้อรายใหม่ลดลงจากเดิมปีละประมาณ 20,000 คน ขณะนี้เหลือประมาณ 10,000 กว่าคน ซึ่งมาจากการให้ยาต้านไวรัสเร็วขึ้นก็จะทำให้แพร่เชื้อได้น้อยลง ขณะเดียวกันคนที่ได้รับยาต้านไวรัสเร็ว โอกาสที่จะเป็นโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคตับ โรคไตเรื้อรัง ก็จะลดน้อยลงไปด้วย คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้น
                                       
   
       สิ่งที่น่าจะเป็นข่าวดีมากกว่านั้น คือการที่ประเทศไทยได้มีแนวทางใหม่ โดยให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับยาต้านไวรัสสูงกว่ามาตรฐานโลก เมื่อปีที่แล้วประธานาธิบดีอาฟริกาใต้ประกาศในวันเอดส์โลก ว่าอาฟริกาใต้จะให้ยาต้านไวรัสเอดส์ 3 ตัว กับหญิงตั้งครรภ์อาฟริกาใต้ที่ติดเชื้อทุกรายที่มีภูมิต้านทานต่ำกว่า 350 หลายประเทศในอาฟริกาใต้ยังให้ยาเพียงตัวเดียวเพื่อลดการติดเชื้อไปสู่ลูกซึ่งได้ผลไม่ดีนัก แต่ประเทศไทยจะให้ยา 3 ตัวกับหญิงตั้งครรภ์ทุกรายไม่ว่าภูมิคุ้มกันจะเท่าไรก็ตาม ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และสูตรยาที่ให้เป็นสูตรยาที่ประเทศทางอเมริกา และยุโรปใช้กันอยู่ คือ1.เอแซดที (AZT) 2.ลามิวูดีน (Lamivudineหรือ 3TC) 3.คาเลตร้า (Kaletra)ซึ่งเป็นยาสูตรผสมระหว่างโลพินาเวียร์ (Lopinavir)และริทโทนาเวียร์ (Ritonavir) ซึ่งมียาที่ทำซีแอล 1 ตัวคือคาเลตตร้า และหลังคลอดแล้วจะต้องหยุดยาอย่างไรหรืออาจจะเกิดเชื้อดื้อยาหรือไม่            
 
 
        ถือว่าไทยเป็นประเทศแรกที่กำลังพัฒนาที่ใช้สูตรยาประเทศตะวันตกในการป้องกันเอดส์จากแม่สู่ลูก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดดามาตุ ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในโครงการป้องกันการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกของสภากาชาดไทย ได้มีการแจกยาไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ในไทย ที่ใช้ยาต้านไวรัส 3 ตัวกับหญิงตั้งครรภ์ทุกรายไม่ว่าภูมิคุ้มกันจะเป็นเท่าไรตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา
 
          สำหรับการกิจกรรมวันเอดส์โลกของสภากาชาดไทย ได้มีความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข องค์กรต่าง ๆ และกทม. ร่วมกันจัดมาปีนี้เป็นปีที่ 19 เรียกว่างานเทียนส่องใจ มีการเดินขบวนพาเรดเวลา 12.00 น. การแสดงของดาราศิลปินที่สำนักงานอาสากาชาด และเวลา 17.00 น. พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดดามาตุ จะเสด็จเป็นองค์ประธาน และถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยด้วย
 
          ทางด้านนายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อมูลในต่างประเทศ ไทยได้รับการช่วยเหลืองบประมาณจากกองทุนโลกในการดูแลโรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค ขณะนี้เราได้รับการช่วยเหลือน้อยลง เนื่องจากเราได้ประกาศสิทธิบัตรเหนือสิทธิบัตรยาซึ่งมี 3 ตัว คือยาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ชื่อทางการค้าว่าพลาวิกซ์ (Plavix) ใช้รักษาโรคหลอดเลือดอุดตัน และเป็นยาต้านไวรัส 2 ตัว คือ เอฟาไวเรนซ์ (Efavirenze) และคาเล็ตตร้า (Kaletra) ทำให้ค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากกองทุนโลกลดลงโดยปริยาย ถือว่าเป็นการช่วยแบ่งปันยาที่เราได้รับจากกองทุนโลกไปสู่ประเทศทีมีความต้องการมากกว่า
 
          นายแพทย์ศิริวัฒน์กล่าวต่อว่า ในส่วนของ ยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS)จะมีการประชุมคณะกรรมการปีละ 2 ครั้ง ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ไปเข้าร่วมประชุมในวันที่ 6-8 ธันวาคม 2553 ซึ่งจะมีการพูดถึงเรื่องโภชนาการของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์โดยเฉพาะว่าหลังจากได้รับยาจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร เพราะการได้รับยาต้านไวรัสผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์จะต้องดูแลร่างกายให้มีภูมิต้านทานดี คือมีโภชนาการที่ดีด้วย นอกจากนั้น ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์มักจะมีโรคแทรกซ้อนโดยเฉพาะวัณโรค ซึ่งทางการแพทย์ต้องตรวจสอบประวัติการสูบบุหรี่ และแนะนำให้เลิก เพื่อไม่ให้ภาวะโรคแย่ลงจากวัณโรคและโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ดื่มสุรา จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย ไม่เช่นนั้นอาจจะต้องใช้ยาต้านไวรัสมากขึ้นและนานขึ้น นอกจากนั้น ยูเอ็นเอดส์ จะแต่งตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษระดับโลก 1 ชุด เพื่อทบทวนเรื่องการประชาสัมพันธ์การใช้ถุงยางอนามัย 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้เป็นผู้ที่มีบทบาทมากระดับโลก โดยอาจารย์มีชัย วีระไวทยะ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมคณะกรรมการชุดนี้ด้วย
 
  ************************************** 24 พฤศจิกายน 2553


   
   


View 8       ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ