น้ำเกลือปรุงอาหาร และซ๊อส ซีอิ๊ว มีปริมาณไอโอดีนตามมาตรฐาน ตามประกาศ4 ฉบับของกระทรวงสาธารณสุข

วันนี้ (8 ธันวาคม 2553) ที่โรงแรมมิราเคิล กทม. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดการประชุมหารือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน 4 ประเภท ได้แก่ เกลือบริโภค น้ำปลา น้ำเกลือปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง ทั่วประเทศจำนวน 200 ราย ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 4 ฉบับซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว และให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ ให้สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย

นายจุรินทร์ให้สัมภาษณ์ การดำเนินการบังคับใช้ประกาศดังกล่าว ได้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการมาตั้งแต่ต้น หลังจากที่ได้ลงนามประกาศ แต่ยังมีปัญหาความไม่เข้าใจเกิดขึ้นบางส่วน แต่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเทคนิคในการผสมไอโอดีนลงไปในเกลือบริโภค ซึ่งผู้ประกอบการบางคนยังเข้าใจว่าต้องใช้เครื่องจักรเท่านั้น ซึ่งความเป็นจริงสามารถทำได้ทั้ง 2 วิธี คือการใช้เครื่องจักร และการผสมคลุกด้วยมือ

นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า วิธีการคลุกเกลือไอโอดีนด้วยมือ จะใช้ไอโอดีนผงนำไปละลายน้ำ แล้วฉีดพ่นไปที่เกลือ จากนั้นใช้มือสะอาดคือวิธีสวมถุงมือตามมาตรฐานคลุกเคล้าเกลือ เสร็จแล้วรีบบรรจุถุง ก็จะกลายเป็นเกลือผสมไอโอดีนตามมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งปัจจุบันทีโรงงานผลิตเกลือบริโภคทั้งหมด ประมาณ 600 แห่ง ส่วนใหญ่ประมาณ 400 แห่งเป็นโรงงานที่มีเครื่องจักร มีกำลังการผลิตเกลือกว่าร้อยละ 80 ของเกลือบริโภค ที่เหลืออีกประมาณ 200 แห่งเป็นโรงงานขนาดเล็ก ยังใช้วิธีผสมไอโอดีนในเกลือด้วยมือ ซึ่งหากจะลงทุนซื้อเครื่องจักรมาใช้ในการผสมไอโอดีน ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ขอให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ออกแบบเครื่องจักรที่ใช้ง่ายที่สุดเรียบร้อยแล้ว และจะจำหน่ายราคาพิเศษ เพื่อสนับสนุนนโยบายเพิ่มไอโอดีนเพิ่มไอคิวของกระทรวงสาธารณสุขให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ

                     

                                                                                     

สำหรับเงินลงทุนในการซื้อเครื่องจักรของสถานประกอบการรายย่อย ได้ขอความร่วมมือจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)และธนาคารกสิกรไทย ร่วมปล่อยสินเชื่อให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งวันนี้ก็ได้มาร่วมงาน และให้คำแนะนำผู้ประกอบการ คาดว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป จะสามารถปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มไอโอดีน เพิ่มไอคิวได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเตรียมการมาหลายเดือนแล้ว  

          นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า สำหรับการควบคุมมาตรฐานเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนที่ผสมด้วยวิธีคลุกด้วยมือ จะมีการสุ่มตรวจเกลือตัวอย่าง 5จุด  นำมาทดสอบปริมาณไอโอดีน จะต้องมีค่าไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อเกลือบริโภค 1 กิโลกรัมตามที่กำหนด ส่วนเกลือไอโอดีนที่ผสมโดยเครื่องจักรก็จะมีการสุ่มตรวจเช่นเดียวกัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับไอโอดีนจากเกลือได้อย่างครบถ้วน 

****************************** 8 ธันวาคม 2553



   
   


View 2       ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ