“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 138 View
- อ่านต่อ
ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมัชชานานาชาติแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก21ประเทศ ตั้งเป้าภายในพ.ศ.2558 จะลดปัญหาโรคเอดส์ให้เป็นศูนย์ 3 เรื่องตามคือ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ละไม่มีการตีตราและเลือกปฎิบัติได้สำเร็จตามเป้าหมายองค์การสหประชาชาติ เผยล่าสุดในปี 2554 มีผู้ติดเชื้อในภูมิภาคนี้ประมาณ 5 ล้านคนหรือประมาณ 1 ใน 10 ของผู้ติดเชื้อทั่วโลก เสียชีวิตปีละ 3 แสนคน ปัญหาหลักเกิดจากติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น กลุ่มชายรักชาย และกลุ่มแปลงเพศ
วันนี้(19 พฤศจิกายน 2556)ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์
นายแพทย์
สำหรับการแก้ไขปัญหาเอดส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าประสบความสำเร็จเป็นลำดับ โดยเฉพาะการลดผู้ติดเชื้อรายใหม่และลดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกด้วยการให้ยาต้านไวรัสในแม่ก่อนคลอด ซึ่งเราต้องพยายามรักษามาตรฐานการดำเนินงานให้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็พบว่าภูมิภาคยังมีความท้าทายที่ต้องเร่งแก้ปัญหาการติดเชื้อ ในบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มผู้แปลงเพศ ผู้ขายบริการทางเพศ กลุ่มผู้ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น โดยพบว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปีสูงขึ้น โดยการประชุมครั้งนี้ นับว่าเป็นการประชุมครั้งใหญ่ที่สุด มีเวทีนำเสนอและแลกเปลี่ยนวิชาการด้านเอดส์ เพื่อหาวิธีที่จะหยุดปัญหาเอดส์ให้ได้เร็วที่สุด โดยอาศัยการลงทุนอย่างคุ้มค่าทั้งการป้องกันและการรักษาเอดส์ โดยเฉพาะการวิจัยเรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ทำให้โลกมีความหวังที่จะหยุดการระบาดและรักษาให้เอดส์หายขาดได้ แต่ที่สำคัญคือเราต้องมีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับปัญหานี้อย่างจริงจัง และแก้ปัญหาอย่างบูรณาการภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ในส่วนของไทยนั้น ประสบความสำเร็จในการลดการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกจนอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งระบบหลักประกันสุขภาพของไทยไทย ได้เพิ่มความครอบคลุมการให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์สูงถึงร้อยละ 70 และมีความพยายามที่จะปรับแนวทางการให้ยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงถึงระดับเม็ดเลือดขาวซีดีโฟว์ (CD4) ขณะนี้ได้เพิ่มระบบการให้คำปรึกษารายที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อรับการตรวจเลือดหาเชื้อให้เร็วที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถให้การรักษาโดยเร็วที่สุด ผู้ติดเชื้อสามารถกลับมามีชีวิตได้เหมือนคนปกติ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก ซึ่งจากการวิจัยพบว่าการลงทุนด้านนี้จะได้ผลตอบแทนกลับมาถึง 3 เท่า และเป็นตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยคาดว่าในปี พ.ศ.2556 ประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ มีชีวิตอยู่ 447,640 คน และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณ 8,959 คน
19 พฤศจิกายน 2556