กระทรวงสาธารณสุขพัฒนายกระดับโรงพยาบาลห้วยเกิ้งเป็นโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยแห่งใหม่1ใน21 แห่งของปี2558เปิดบริการรักษาโรคคู่ขนานกับแพทย์แผนปัจจุบันผู้ป่วยเลือกใช้บริการมากถึงร้อยละ50 ช่วยรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอัมพฤกษ์อัมพาตกลับมาพูดได้และเดินได้นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กระจายพันธุ์สมุนไพรและศูนย์แปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพมาตรฐานจำหน่ายให้ผู้ผลิตยาสมุนไพรทั้งในและต่างประเทศ

          นายแพทย์สมศักดิ์ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง .อุดรธานีว่า กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนายกระดับโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง เป็น1 ใน21โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยแห่งใหม่ประจำปี2558เปิดบริการรักษาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในคู่ขนานกับแพทย์แผนปัจจุบันรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเช่นนวดอบประคบฝังเข็มการฟื้นฟูสภาพในโรคเรื้อรังในแต่ละวันมีผู้ป่วยเข้ารับบริการแบบผู้ป่วยนอกวันละประมาณ100 คนโดยผู้ป่วยร้อยละ50 เลือกใช้บริการแบบแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่เป็นโรคปวดเมื่อยจากการทำงานในส่วนผู้ป่วยในที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาลเน้นการรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังซับซ้อนเช่นโรคหลอดเลือดสมองอัมพฤกษ์อัมพาตมีผู้ป่วยเข้ารักษา25 คนขณะนี้รักษาฟื้นฟูด้วยแพทย์แผนไทยให้กลับมาพูดได้และเดินได้แล้ว6 คนผู้รับบริการพึงพอใจมากกว่าร้อยละ80
 
โดยมีการใช้ยาสมุนไพรสำเร็จรูปรักษาโรคเช่นโรคทางเดินหายใจปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมียาสมุนไพรในและนอกบัญชียาหลักแห่งชาติรวม43 รายการยาสมุนไพรแห้ง125 รายการยาสมุนไพรชนิดตำรับ5 ตำรับผู้ป่วยยอมรับการใช้ยาสมุนไพรมากลดการใช้ยาแผนปัจจุบันมากกว่าร้อยละ15และผลิตสมุนไพรใช้ภายนอกเช่นลูกประคบแห้งขี้ผึ้งเสลดพังพอนทาพิมเสนน้ำและน้ำมันไพลผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และมีแผนพัฒนาโรงงานผลิตยาสมุนไพรให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี
 
ทางด้านเภสัชกรศิริชัยระบาเลิศผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง กล่าวว่าโรงพยาบาลได้ส่งเสริมการศึกษาวิจัยทางคลินิกทางการแพทย์แผนไทยและงานสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนจัดตั้งกลุ่มรักษ์สมุนไพรให้ชุมชนปลูกสมุนไพรที่ผ่านการคัดสายพันธุ์125 ชนิดเน้นสมุนไพรยอดนิยม(Product Champion ) เช่นบัวบกกระชายดำขมิ้นชันและไพลโดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าป่าในชุมชนและตามบ้านประมาณ60 ไร่ปลูกตามมาตรฐานการเพาะปลูกสมุนไพรที่ดี(GAP)และผ่านมาตรฐานการตรวจหาสารปนเปื้อนโลหะหนักและยาฆ่าแมลงจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์.อุดรธานีเพื่อให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐาน (เครื่องหมายQ ทอง)ทั้งสารตัวยาสำคัญในสมุนไพรครบถ้วนมีความปลอดภัยต่อการใช้
 
นอกจากนี้โรงพยาบาลยังเป็นศูนย์แปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรรับซื้อสมุนไพรจากชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสมุนไพรเพื่อใช้ในงานรักษาพยาบาลรวมทั้งเป็นตลาดกลางจำหน่ายวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐานให้ผู้ประกอบการผลิตยาสมุนไพรทั้งในและต่างประเทศด้วยขณะนี้ชุมชนปลูกสมุนไพรเป็นรายได้หลักและรายได้เสริมประมาณ  200 คน ในชุมชน อำเภอช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นมีเศรษฐกิจดีอย่างยั่งยืนด้านสมุนไพรที่มีคุณภาพสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการที่จะสร้างรายได้และลดความเหลื่อมล้ำให้กับชุมชนท้องถิ่น
 
  ****************************** 19 กรกฎาคม 2558


   
   


View 15    19/07/2558   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ