“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 136 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข เผยองค์การอนามัยโลก ระบุพยาธิใบไม้ตับเป็นเชื้อก่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี พบมากที่สุดในโลกที่ภาคอีสานของไทย ต้นทุนการรักษาสูง 5 แสนบาทต่อคน ชี้ป้องกันได้หากร่วมมือกันจริงจัง จับมือมหาลัยขอนแก่น สำนักงานทรัพย์สินฯ กำจัดปัญหาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ
วันนี้ (18 มกราคม 2559) ที่จ.สกลนคร ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิด “โครงการกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ 70 ปี พ.ศ. 2559 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา และในปีพ.ศ.2560 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา” พร้อมเป็นสักขีพยานการรับมอบเครื่องอัลตราซาวด์ โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นและกระทรวงสาธารณสุข การมอบเงินช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ยากไร้ โดยประธานมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า โรคพยาธิใบไม้ตับสามารถป้องกันได้หากร่วมมือกันอย่างจริงจัง องค์การอนามัยโลก (WHO) ยอมรับและจัดให้โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นเชื้อก่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีอุบัติการณ์โรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงมากที่สุดในโลก ข้อมูล พ.ศ.2557 พบความชุกพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 9.2 โดยในระดับหมู่บ้านอาจมีความชุกสูงถึงร้อยละ 90 รองลงมาคือภาคเหนือพบร้อยละ 5.2 ในระดับหมู่บ้านอาจมีความชุกสูงถึงร้อยละ 45.6 พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จากพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องการบริโภคอาหารที่ทำจากปลาน้ำจืดเช่น ปลาร้าดิบ ส้มตำใส่ปลาร้าดิบ แจ่วบองใส่ปลาร้าดิบ โรคนี้มีต้นทุนในการรักษาสูงประมาณ 5 แสนบาทต่อคน ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตต่ำมาก เนื่องจากพบผู้ป่วยมะเร็งในระยะท้ายๆ
ที่ผ่านมามีการดำเนินการกำจัดปัญหาพยาธิไม้ใบตับอย่างต่อเนื่อง โดยประกาศเป็นวาระอีสานในปี 2555 และผลักดันเข้าสู่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรีในปี 2558 พร้อมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ “ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” โดยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หน่วยงานด้านการศึกษาวิจัยโรคมะเร็ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน ส่วนในปี 2559 นี้ เพื่อสร้างต้นแบบการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอย่างครบวงจร สนับสนุนทศวรรษกำจัดพยาธิใบไม้ตับให้ประสบความสำเร็จ มีแผนการดำเนินงานดังนี้ 1.ส่งเสริมสุขภาพและการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ให้อุจจาระปนเปื้อนแหล่งน้ำ ให้ปลาปลอดพยาธิ 2.ให้สุขศึกษา ตรวจหาการติดพยาธิในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปและให้ยารักษา ปรับพฤติกรรมให้เลิกกินอาหารดิบ โดยเฉพาะเมนูปลาน้ำจืดดิบ 3.ตรวจคัดกรองมะเร็งตับระยะแรกในประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไปด้วยเครื่องอัลตราซาวด์
4.ส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยเข้ารับการตรวจยืนยัน และให้การรักษาตามแต่ละชนิดของมะเร็ง ตามระบบแผนการพัฒนาระบบบริการ 5.ผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้ายจะได้รับการดูแลแบบประคับประคอง 6.สนับสนุนเครื่องตรวจอัลตราซาวด์ การฝึกพยาบาลและแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย จัดระบบให้เกิดการผ่าตัดแก่ผู้ป่วยในระยะแรก รวมทั้งจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานด้านวิชาการและการจัดการ เป็นต้น ตั้งเป้าให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย 84 อำเภอ ใน 27 จังหวัด เปลี่ยนพฤติกรรมไม่กินเมนูปลาดิบ ได้รับการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการผ่าตัดรักษา 600 คน มีอำเภอ/ตำบลต้นแบบ
***************************************** 18 มกราคม 2559