คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินคณะที่ 4 คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านสาธารณสุข ที่มีพลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมและสานพลังประชารัฐ เน้น “ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ” และเร่งรัดจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปเห็นผลในปี 2560

          วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2559) ที่ทำเนียบรัฐบาล กทมนายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 4คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านสาธารณสุข โดยมีพลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านสาธารณสุข ว่า ในวันนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อการปฎิรูปด้านสาธารณสุข ในระยะ 18 เดือน และแนวทางปฏิรูปต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2561-2565 ใน ด้าน คือ ด้านระบบบริการสุขภาพส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค แพทย์แผนไทยและศูนย์กลางด้านการแพทย์ ด้านการคลังสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพ และด้านการอภิบาลระบบสุขภาพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รวบรวมจากคณะทำงานขับเคลื่อนและปฏิรูปฯ ทั้ง 8 คณะ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั่วประเทศ

นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า ในด้านระบบบริการ มีเป้าหมายลดป่วย ลดตาย ลดรอคอย และลดการส่งต่อ เน้นให้มีกลุ่มเครือข่ายบริการปฐมภูมิเกิดขึ้น แห่งต่อจังหวัด เริ่มจากเขตเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป 1 เครือข่ายดูแลประชาชน 30,000 คน มีแพทย์ คนดูแล 10,000 คน และมีคณะกรรมการระบบบริการปฐมภูมิในรูปแบบไตรภาคี มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนร่วมบริหารจัดการ นำร่อง 60 อำเภอทั่วประเทศ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประชาชนและครอบครัว 

สำหรับระดับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ พัฒนาระบบดูแลรักษาโรคที่เป็นปัญหาการตายที่สำคัญคือ โรคหัวใจ จะพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์ 18 แห่งให้สามารถผ่าตัด และสวนเส้นเลือดหัวใจได้ เพื่อลดการตายจากโรคหัวใจไม่เกินร้อยละ 10  โรคไตมีคลินิกชะลอไตเสื่อมในโรงพยาบาลขนาด30เตียงขึ้นไปทุกแห่ง โรคหลอดเลือดสมอง มีหน่วยดูแลในโรงพยาบาล 38 แห่งทั่วประเทศ และร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ใน สาขาหลัก คือมะเร็ง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ สมอง ทารกแรกเกิด และการบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ นอกจากนี้จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง และตั้งเป้าหมายแผนในปี 2561-2565 ลดเวลารอคอยการรักษาผู้ป่วยนอกไม่เกิน 120 นาที ลดการส่งต่อออกนอกเขตสุขภาพ

          สำหรับด้านสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค จะเน้นให้มีกลไกคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคระดับชาติ (National Public Health Board) และให้มีการขับเคลื่อนในหลักการทุกภาคส่วนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค (Health in All Policies) เพื่อให้เกิดการบูรณาการและเครือข่ายในการลดความเสี่ยงและภัยสุขภาพทุกกลุ่มวัย ลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติกาภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับจังหวัดทุกจังหวัด โดยแยกงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้ชัดเจน และจะเพิ่มให้ได้ร้อยละ1ของจีดีพี                                                                                           

          ด้านการคลังด้าน สุขภาพระยะสั้นในปี 2559 จะเสนอ ครม.คืนสิทธิด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ และแรงงานไม่มีสถานะ โดยเตรียมจัดตั้งกองทุนควบคุมโรคสำหรับประชากรข้ามชาติ ในระยะยาว จะจัดระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ จะลดความเหลื่อล้ำด้านสุขภาพ ระหว่างระบบประกันสุขภาพผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ไม่ต้องจ่ายเพิ่มหรือถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายก่อน และด้านการอภิบาลระบบสุขภาพ เน้นให้เกิดกลไกที่เป็นเอกภาพระดับชาติและระดับพื้นที่ ให้เกิดระบบสุขภาพที่มีประสิทธิผลคุ้มค่า และสานพลังหน่วยงานต่างๆ  และประชาชน มีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพและระบบการสาธารณสุขของไทย

          ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบการสาธารณสุข 3 คณะ ได้แก่ คณะขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านระบบบริการสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค แพทย์แผนไทยและศูนย์กลางด้านการแพทย์ ด้านการคลังสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพ และด้านการอภิบาลระบบสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการสาธารณสุขให้เห็นผลในปี 2560 ต่อไป

  ****************************************  19 กุมภาพันธ์ 2559



   
   


View 17    19/02/2559   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ