“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 136 View
- อ่านต่อ
คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ปรับระบบการบริหารจัดการ นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ”ทั้งในเรื่อง นิยามผู้ป่วยวิกฤตสีแดงที่ชัดเจน มีระบบเบิกจ่ายที่เหมาะสม ตามราคากลางค่ารักษาพยาบาล ( Fee schedule) ที่ทุกส่วนมีความพอใจ รวมทั้งการดำเนินการหลัง 72 ชั่วโมงพ้นวิกฤตที่ต้องหาโรงพยาบาลรับส่งต่อ พร้อมประกาศใช้ก่อนสงกรานต์ปี 2559
วันนี้ (16 มีนาคม 2559) ที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยนพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 6 /2559 โดยผู้แทน 3 กองทุน และโรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมประชุมด้วย ในวันนี้ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้า นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ” ที่มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน และผู้แทนจาก 3 กองทุน หารือแนวทางการดำเนินงานเพื่อปรับระบบให้เกิดประโยชน์กับประชาชน
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า การดำเนินงานตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ” ได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ ที่ยึดหลัก การช่วยชีวิตผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน ที่ถือว่าเป็นนโยบายเพื่อสังคม(CSR) ที่ผ่านมาการดำเนินงานอาจมีข้อติดขัดบางประการ ทั้งในเรื่องนิยามผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน การเบิกจ่ายเงินและการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากนโยบายนี้ กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกัน 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 เรื่องทิศทางการขับเคลื่อนนโยบาย 9 มีนาคม 2559หารือเรื่องการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน กับผู้แทนจาก 3 กองทุน ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 หารือเรื่องแนวทางการดำเนินงานเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ ร่วมกับผู้แทนโรงพยาบาลเอกชน 30 แห่ง
โดยจากการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการ ทั้งในเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยวิกฤตสีแดงตาม 25 กลุ่มอาการที่เห็นตรงกันทั้งโรงพยาบาลและผู้ป่วย โดยหากมีข้อสงสัยจะมีหน่วยงานกลางคือสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นที่ปรึกษาและให้ความเห็นภายใน 15 นาที ส่วนในเรื่องรูปแบบการเบิกจ่ายเงินนั้น เห็นด้วยกับการจ่ายแบบราคากลางค่ารักษาพยาบาล( Fee schedule) ให้มีการปรับราคากลางที่ทุกส่วนมีความพอใจ สำหรับการดำเนินการหลัง 72 ชั่วโมงหลังผู้ป่วยพ้นวิกฤตที่ต้องหาโรงพยาบาลรับส่งต่อ กองทุนประกันสังคมใช้โรงพยาบาลต้นสังกัด กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กรมบัญชีกลางจะได้กำหนดระเบียบขึ้นมารองรับ เช่น ให้อยู่โรงพยาบาลเดิมต่อไป โดยกำหนดอัตราการเบิกจ่าย ส่วนต่างผู้ป่วยจ่ายเพิ่มเอง ส่วนกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้โรงพยาบาลต้นสังกัดและเพิ่มการจัดการเรื่องศูนย์สำรองเตียง
“ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ประสานทำความตกลงกับ 3 กองทุนและโรงพยาบาลเอกชน ให้ได้ข้อตกลงภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อประกาศใช้ก่อนเทศกาลสงกรานต์ปี 2559 นี้ และให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเตรียมระบบรองรับ ทำงานเชิงรุกโดยทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานบริการประชาชน ให้มีความสะดวกรวดเร็ว ”ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าว
******************************** 16 มีนาคม 2559
****************************