“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 128 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข ชื่นชมเขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์ สร้างกลไกการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง ดูแลผู้ป่วยเมื่อส่งกลับบ้านหลังการรักษาที่โรงพยาบาล ใน 6 กลุ่มโรคเช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วัณโรค โรคจิตเวช โรคทางกระดูกและข้อ เป็นต้น ลดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วย 2 ใน 3 อาการดีขึ้นและ 1 ใน 3 อาการคงที่ไม่ต้องกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ
วันนี้(3 มิถุนายน 2559)ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงเขตสุขภาพที่ 9 และคณะผู้บริหาร ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่เขตสุขภาพที่ 9 ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์ พร้อมมอบนโยบายการทำงาน ว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่ยุค เศรษฐกิจคุณค่า หรือประเทศไทย 4.0 ในส่วนกระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลสุขภาพประชาชน ก็เช่นกันได้มุงเน้นการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นระบบการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณค่า (Value based Health Care) เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพ ที่รวมพลังสังคม เพื่อประชาชนสุขภาพดี”
จากการตรวจเยี่ยม พบว่า เขตสุขภาพที่ 9 มีการดำเนินการเพื่อมุ่งให้บรรลุวิสัยทัศน์ของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะกลไกการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องเขตสุขภาพที่ 9 ที่มุ่งเน้นดำเนินการ ดังนี้ 1.พัฒนาระบบส่งต่อ ข้อมูล และการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 2.บอกแผนการรักษาของแพทย์จากหน่วยบริการตติยภูมิ/ทุติยภูมิลงสู่การดูแลอย่างต่อเนื่องใน ระดับปฐมภูมิ 3.ข้อมูลมีความถูกต้องรวดเร็วและมีผู้รับผิดชอบชัดเจน 4.เพื่อลดอัตราตาย ลดภาวะแทรกซ้อน และลดการกลับไปนอนโรงพยาบาลซ้ำ ( Readmit) โดยมุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยเมื่อส่งกลับบ้านหลังการรักษาที่โรงพยาบาล ใน 6 กลุ่มโรคเช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ต้องการภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีโรคแทรกซ้อนควบคุมอาการไม่ได้ วัณโรค โรคทางจิตเวช โรคทางกระดูกและข้อ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ
โดยใช้แอฟพิเคชั่น ที่เรียกว่า COCr9 มีจุดเด่น คือ เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่าย ช่วยให้บริการครอบคลุม เป็นปัจจุบัน ค้นหาผู้ป่วยได้ง่าย บอกพิกัดผู้ป่วยได้ง่าย ที่สำคัญยังสามารถใช้วิเคราะห์เชิงระบาดวิทยา ทราบจำนวนผู้ป่วย วิเคราะห์สุขภาพชุมชนได้ให้บริการได้ครอบคลุม แก้ไขปัญหาเดิมที่ระบบการส่งตัวผู้ป่วยกลับใช้วิธีส่งเอกสาร เพื่อบอกอาการผู้ป่วย แนวทางการดูแลต่อเนื่อง ให้โรงพยาบาลที่ส่งตัวมารักษา พบว่าได้รับการตอบกลับเพียงร้อยละ 20 ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนต้องกลับมารักษาซ้ำสูงมาก ผลการดำเนินงาน ผู้ป่วยที่ส่งกลับด้วยระบบใหม่นี้ ในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 90,000 กว่าคน 2 ใน 3 อาการดีขึ้น 1ใน 3 อาการคงที่ช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนทำให้ไม่ต้องกลับไปนอนโรงพยาบาลซ้ำ
************** 3 มิถุนายน 2559