“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 128 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข จัดทำร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ภายใต้วิสัยทัศน์ “ระบบสุขภาพเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ เพื่อคนไทยสุขภาพดี สร้างประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” มีเป้าหมาย 5 เรื่อง ขับเคลื่อนตามกรอบ 4 ยุทธศาสตร์ เตรียมเสนอครม.ภายในเดือนตุลาคม 2559
ศ.คลินิก เกียติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ทบทวนการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 11 ที่ผ่านมา ซึ่งผลการประเมินการพัฒนาในระยะครึ่งแผน พบว่า แนวโน้มการป่วยด้วยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง และอัตราการควบคุมภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย ยังไม่ผ่านเกณฑ์และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ในเรื่องการออกกำลังกาย บริโภคผัก/ผลไม้ รับประทานอาหารหวาน/มัน/เค็ม เลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มี อย. การดื่มสุรา ยังพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น รวมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ นำมากำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการจัดทำร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 นี้ และผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 ภาค ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างแผนฯ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบภายในเดือนตุลาคม 2559
สำหรับร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งนำเสนอโดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธาน คณะทำงานยกร่างแผนฯ ได้กำหนดทิศทางการพัฒนามุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านของระบบสุขภาพ ตามแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข และเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งให้ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “ระบบสุขภาพเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ เพื่อคนไทยสุขภาพดี สร้างประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 5 เรื่อง คือ 1.ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น การเจ็บป่วยและตายจากโรคที่ป้องกันได้ลดลง 2.คนไทยทุกกลุ่มวัยมีสุขภาวะที่ดี ลดการตายก่อนวัยอันควร 3.เพิ่มขีดความสามารถของระบบบริการสุขภาพทุกระดับ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสะดวก เหมาะสม 4.มีบุคลากรด้านสุขภาพในสัดส่วนที่เหมาะสม และ5.มีกลไกการอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก (P3: Health Promotion + Disease Prevention + Consumer & Environmental Protection Excellence) 2.สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสุขภาพ (Service Excellence) 3.พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ (People Excellence) และ 4.พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ (Governance Excellence)
***************************** 4 ตุลาคม 2559