“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 128 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดนโยบายป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพ และส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลทุกแห่ง ให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย และประสิทธิผลสูงสุดจากการใช้ยา ด้วยกลยุทธ์กุญแจ 6 ดอก P-L-E-A-S-E โดยได้กำหนดให้อยู่ในแผนการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan)
วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2559) นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จังหวัดชัยนาท ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง เข้มงวดการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพและส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU) ให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยและประสิทธิผลสูงสุด โดยกำหนดให้อยู่ในแผนการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) ให้ทุกเขตสุขภาพจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารจัดการการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล มีเครื่องมือประเมินผลการใช้ยาอย่างเป็นระบบ สร้างกลไกเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพและนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้มีหลายโรงพยาบาลได้เริ่มดำเนินการแล้ว
สำหรับโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ได้รับมอบหมายจากเขตสุขภาพที่ 3 โดยให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย มีคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระดับเขต ร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย มี 8 ตัวชี้วัดด้วยกลยุทธ์กุญแจ 6 ดอก P-L-E-A-S-E โดยมีเป้าหมายให้โรงพยาบาลทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 3 ผ่านเกณฑ์ระดับกำลังพัฒนาร้อยละ 100 และผ่านเกณฑ์การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล (Antibiotic Smart Use : ASU) 3 กลุ่มโรค ได้แก่โรคระบบทางเดินหายใจ โรคอุจจาระร่วง และแผลสะอาด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2560
ในส่วนของโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรพบว่า ตัวชี้วัดการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลใน 3 กลุ่มโรคในปี 2559 ยังสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของเขตสุขภาพที่ 3 คือ โรคระบบทางเดินหายใจร้อยละ 55 โรคอุจจาระร่วงร้อยละ 43 และแผลสะอาด ร้อยละ 67 จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินการ ดังนี้ 1. จัดทำแนวทางการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพใน 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคอุจจาระร่วง และแผลสะอาด 2.ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรทดแทนในผู้ป่วยโรคหวัดและท้องเสียที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ 3.พัฒนาระบบเครือข่ายภายในจังหวัดชัยนาทเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ได้แก่ การส่งข้อมูล Antibiogram ให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งใช้เป็นแนวทางประกอบการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพ จัดประชุมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพที่ถูกต้องให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และร้านขายยาภายในจังหวัดชัยนาท 4.การจัดทำฉลากยามาตรฐานให้ครอบคลุม 13 กลุ่มยา และ 5.ส่งเสริม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการคัดเลือกยา การส่งเสริมการขายยา ทั้งนี้ ได้มีระบบติดตามแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวพร้อมตัวชี้วัดทุกเดือน โดยมีเป้าหมายว่าโรงพยาบาลจะต้องผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลใน 3 กลุ่มโรคภายในระยะเวลา 9 เดือน
************************ 18 พฤศจิกายน 2559