รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย เขียนบทความ “ประเทศไทยกับการเป็นผู้นำในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย ในโอกาสได้รับเกียรติรับเชิญเป็น แชมเปี้ยนการขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปี ค.ศ. 2016 (UHC Day champion 2016) ร่วมกับผู้นำด้านสุขภาพของประเทศอื่นๆ และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

 

          ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับเกียรติรับเชิญเป็น แชมเปี้ยนการขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปี ค.ศ. 2016 (UHC Day champion 2016) ร่วมกับผู้นำด้านสุขภาพของประเทศอื่นๆ และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ จากนโยบายที่ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงาน มุ่งมั่นให้ประชาชนไทยเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยได้นำคณะผู้แทนไทย ร่วมการประชุมและพิธีฉลองวันประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล” ณ ห้องประชุมโรงแรมคราวน์พลาซา นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ระหว่างวันที่ 12 – 13 ธันวาคม 2559 และมีพิธีฉลองคู่ขนาน ณ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เป็นจริงตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030

 

          ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย ได้เขียนบทความ เรื่องประเทศไทยกับการเป็นผู้นำในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Thailand: At the forefront of Universal Health Coverage) เผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย ทางเว็บไซต์ https://medium.com/health-for-all/thailand-at-the-forefront-of-universal-health-coverage-d1bb9c0c3e79#.ar650orc5   กล่าวถึงความสำเร็จในการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ซึ่งได้พิสูจน์ให้นานาชาติเห็นแล้วว่า ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวประชากรในระดับปานกลางสามารถสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชากรได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2545 ขณะที่ประเทศไทยมีรายได้ประชาชาติ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัวประชากร

 

          ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสามมิติ ได้แก่  1. ความครอบคลุมประชากรของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งในปัจจุบันจำนวนประชากรร้อยละ 99.99 ของประเทศไทยมีหลักประกันสุขภาพและสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำเป็นต่อสุขภาพได้ 2.สิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวางทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งการรักษาพยาบาลที่มีราคาแพงจำนวนมาก 3.การปกป้องครัวเรือนจากการล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้ หลักฐานเชิงประจักษ์ได้แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ที่สำคัญของการดำเนินงานด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือการทำให้คนยากจนที่อยู่ในเมืองและชนบทรวมทั้งประชาชนที่อาศัยในถิ่นทุรกันดารสามารถเข้าถึงการบริการสุขภาพได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิเคราะห์ด้านสิทธิประโยชน์ที่พบว่าการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยนั้นเป็นการดำเนินงานเพื่อให้คนยากจนได้มีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น และทรัพยากรของภาครัฐกระจายไปสู่ประชากรที่ยากจนเพิ่มมากขึ้น

 

         ปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ดังกล่าวคือ 1.การมีระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศจนถึงระดับชุมชนและหมู่บ้าน จากการที่รัฐบาลได้ลงทุนด้านโครงสร้างและกำลังคนด้านสุขภาพในสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ประชาชนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม 2.การกำหนดชุดสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทุกด้านโดยไม่ต้องมีการร่วมจ่าย ณ จุดบริการ ซึ่งทำให้ลดรายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน ลดภาวะการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและป้องกันครัวเรือนไม่ให้ประสบภาวะความยากจนจากค่ารักษาพยาบาล

 

         บัตรทองซึ่งเป็นหนึ่งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 75 ของประชากรทั่วประเทศมีชุดสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทุกด้าน สามารถดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร เนื่องจากใช้วิธีการบริหารงบประมาณแบบปลายปิดและจ่ายค่าบริการโดยวิธีผสมผสาน คือใช้อัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับกรณีผู้ป่วยนอก และจ่ายเงินชดเชยให้กับสถานพยาบาลตามค่า DRG สำหรับกรณีผู้ป่วยในและค่ารักษาที่ราคาแพง ซึ่งวิธีนี้ มีประสิทธิผลในการควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นอย่างดี ในขณะที่ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปมีความพึงพอใจต่อการให้บริการภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 82 - 95 จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2546-2556 ข้อพึงทราบคือ ผู้ให้บริการสุขภาพส่วนใหญ่ที่ดำเนินงานภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสถานพยาบาลที่ไม่หวังผลกำไรและโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยบริการสุขภาพหลักของประเทศ บุคลากรสาธารณสุขผู้เสียสละทำงานในโรงพยาบาลของรัฐเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าดังกล่าว

 

              จากความสำเร็จด้านผลลัพธ์สุขภาพ โดยเฉพาะปัจจุบันประชาชนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด 74 ปี อัตราตายของเด็ก 12.3 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศคิดเป็น ร้อยละ 4.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ นับว่าระบบสุขภาพของไทยมีประสิทธิภาพและถูกจัดให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้ปานกลางที่มีระบบสุขภาพที่ดีที่สุด  ดังนั้น ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์จากการดำเนินงานด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยเฉพาะการลดภาวะความยากจนจากการล้มละลายจากรายจ่ายด้านสุขภาพและการส่งเสริมให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) จึงควรให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากภาครัฐอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

 

          นอกจากนี้ ไทยยังได้สร้างเสริมศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมินความคุ้มค่าของการรักษาพยาบาลและยาใหม่ก่อนที่จะบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์หรือบัญชียาหลักแห่งชาติ – รายการบัญชียาที่ใช้อ้างอิงในการบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของทั้ง 3 ระบบประกันสุขภาพของรัฐซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนให้มีการประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีเพื่อได้มาซึ่งหลักฐานเชิงประจักษ์ในการบรรจุบริการสุขภาพและเวชภัณฑ์ที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในชุดสิทธิประโยชน์

 

   

   


View 21    15/12/2559   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ


นายกรัฐมนตรี(2) ยกเลิกประกาศประกวดราคาจัดซื้อครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ฯ(6) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(6) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(4) สถานชีวาภิบาล(2) โครงการพาหมอไปหาประชาชน(2) ปลัด สธ.(3) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(2) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู(143) สสจ.นภ(2) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา(86) สสจ.หนองบัวลำภู(141) สุไหงโกลก(24) กระทรวงสาธารณสุข(25) รมว.สธ.(3) โรงพยาบาลร้อยเอ็ด(4) ร้อยเอ็ด(2) สสจ.เลย(27) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย(18) จังหวัดเลย(18) โรงพยาบาลเลย(9) ยาเสพติด(14) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร(130) ผู้สูงอายุ(5) อสม.(2) หมอใหญ่กรุงเก่า(43) สสจ.พระนครศรีอยุธยา(43) สสจ.อย.(43) สสจ.กรุงเก่า(43) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา(43) โรงพยาบาลบุรีรัมย์(72) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด(6) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตราด(2) อธิบดีกรมอนามัย(5) กรมอนามัย(19) โรงพยาบาลหนองคาย(18) รพ.หนองคาย(17) สสจ.ยะลา(2) จังหวัดยะลา(2) รพ.สุไหงโก-ลก(3) รองอธิบดีกรมอนามัย(4) SAN(2) สุไหงโก-ลก(3) สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8(4) พาหมอไปหาประชาชน(2) TO BE NUMBER ONE(6) ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี(2) สสจ.นครราชสีมา(8) รพ.แม่สอด(57) อนามัยสิ่งแวดล้อม(3) กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(3) 3 อ. 2 ส.(3) 2567(2) โรงพยาบาลอินทร์บุรี(3) จังหวัดสิงห์บุรี(3) Medical Hub(3) โรงพยาบาลนครปฐม(10) แพทย์หญิงอัจฉรานิธิอภิญญาสกุล(3) ประชุมวิชาการ(3) บริจาค(6) ชื่นชมบุคลากร(3) ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ(2) โรคติดต่อ(2) รพ.เลย(3) ประกันสังคมจังหวัดพะเยา มอบของเยี่ยมแก่ผู้ประกันตนที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลพะเยา(2) จังหวัดตราด(5) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(2) พระราชพิธี(2) พระราชกุศล(2) เขตสุขภาพที่6(4) น้ำท่วม(10) น้ำท่วมจังหวัดตราด(2) จันทบุรี(2) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน(2) เขตสุขภาพที่ 7(6) MOU(2) สุขภาพ(2) ประกันสังคม(2) ภาวะพึ่งพิง(2) ประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน(2) นพ.สสจ.หนองคาย(9) เขตสุขภาพที่ 8(3) ข่าวรอบรั้วภูมิภาค(3) ข่าวประชาสัมพันธ์ สสจ.หนองคาย(6) วันแม่แห่งชาติ(2) สสจ.หนองคาย(9) วันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2567(2) นายแพทย์สุรพงษ์ ผดุงเวียง(3) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย(3) สสจ.อุดรธานี(37) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์(2) อุบลรัตน์(2) ความร่วมมือด้านการแพทย์ สปป.ลาว(2) อาหารปลอดภัย(2) 30 บาทรักษาทุกที่(2) โรงพยาบาลสมุทรสาคร การสัมมนาวิชาการเพื่อการพัฒนาเครือข่ายบริการด้านโรคลมชัก(2) SEhRT(4) ท่องเที่ยว(2) สุโขทัย(2) โรงพยาบาลหนองคาย รพ.หนองคาย(5) เครื่องสำอาง(3) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมารับมอบเงิน 200(2) 000 บาท(2) พอสว(2) โรงพยาบาลสงขลา Songkhla Hospital(9) “บัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกที่”(2) เสริมพลังวัดส่งเสริมสุขภาพ(2) รางวัลเลิศรัฐ(2) จัดทีมหน่วยปฐมพยาบาลให้บริการตรวจรักษาผู้ประสบภัยน้ำป่าไหลหลาก หน้ามหาวิทยาลัยพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา(2)