“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 130 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุขพัฒนา รพ.สต.สร่างโศกเป็น PPC หรือ คลินิกหมอครอบครัว แห่งแรกของจังหวัดสมุทรปราการ ชี้เป็นแบบอย่าง รพ.สต.ประชารัฐที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและสนับสนุนเงินก่อสร้าง และร่วมเป็นเจ้าของ เพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพ
วันนี้ (15 ธันวาคม 2559) ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก(รพ.สต.สร่างโศก) อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดอาคารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก (หลังใหม่) ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้วางแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข เพื่อมุ่งสู่ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน การพัฒนาอันดับต้นๆ คือการยกระดับคุณภาพบริการด้านการแพทย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ มีระบบบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ครอบคลุม ตามนโยบายรัฐบาลในการปฏิรูประบบบริการสุขภาพยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนไทยอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ตามแนวทางประชารัฐ
นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะอยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด การเพิ่มบริการด้านการรักษาพยาบาลไปยังบริการปฐมภูมิโดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรวมกันเป็นเครือข่ายบริการระดับปฐมภูมิ (PCC หรือ Primary Care Cluster) เพิ่มแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีอยู่ทั้งหมดในระบบ อาทิ หมออนามัย พยาบาล ทันตาภิบาล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เน้นการออกทำงานเชิงรุก โดยทีมหมอครอบครัว ร่วมกับ อสม. ให้การดูแล ให้คำปรึกษา แก่ประชาชนถึงบ้าน เป็นการดูแลประชาชนแบบใกล้บ้านใกล้ใจ เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะการทำงานกับท้องถิ่น ที่เป็นเป้าหมายสำคัญ มุ่งสู่ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน
นายแพทย์โสภณกล่าวต่อไปว่าสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก(หลังใหม่)ใช้งบประมาณก่อสร้างจำนวน 8,050,000 บาท จากกระทรวงสาธารณสุขและเงินบริจาคสมทบจากประชาชนตำบลคลองด่าน และกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างโรงพยาบาลประชารัฐ ที่ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและร่วมบริหารจัดการ อาคารเป็นอาคาร 3 ชั้น โดยชั้น 1 เปิดให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป ชั้น 2เป็นห้องทันตกรรม แพทย์แผนไทย และห้องประชุม ชั้นที่ 3 เป็นห้องพักเจ้าหน้าที่ มีบุคลากรด้านสาธารณสุขจำนวน 8คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นักวิชาการสาธารณสุข 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน เจ้าพนักงานสาธารณสุข 1 คน พนักงานราชการ 1 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน และมีแพทย์ เภสัชกร หมุนเวียนมาให้บริการ สัปดาห์ละ 1 วัน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. 50 คน อาสาสมัครประจำครอบครัว หรือ อสค. 15 คน ดูแลประชากรประมาณ 40,000 คน โดยผู้มารับบริการส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ ประกอบอาชีพประมงและเกษตรกร
**************************** 15 ธันวาคม 2559