“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 129 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันการแก้ไข พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญยึดหลักตามกฎหมาย ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างมาก เพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง นอกจากจะไม่ยกเลิกแล้วยังเพิ่มงบประมาณให้ด้วย รูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจนคือ การเพิ่มงบประมาณกองทุนในปีงบประมาณ 2561 ได้รับเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2560 ถึง 4.28% คิดเป็นเงิน 7,088.29 ล้านบาท งบเหมาจ่ายรายหัวก็ได้รับที่ 3,197.32 บาทต่อประชากร โดยได้รับเพิ่มขึ้นหัวละ 87.45 บาท
สำหรับการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น ยึดหลักตามกฎหมาย โดยทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ตัวแทนองค์กรเอกชน กฤษฎีกา มีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด คำนึงถึงผลกระทบทางด้านบวกและลบซึ่งจะมีผลต่อการดูแลสุขภาพของประชาชน ซึ่งต้องมากขึ้นหรืออย่างน้อยที่สุดต้องไม่น้อยกว่าเดิม นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนอีก 4 ครั้งทั่วประเทศ จึงขอให้สบายใจและทั้งหมดจะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
"ขณะนี้ พรบ.ฉบับนี้ อยู่ในขั้นตอนเตรียมทำประชาพิจารณ์ โดยมอบให้สำนักคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)เป็นผู้ดำเนินการทำประชาพิจารณ์ทั้ง 3 รูปแบบ คือ1.รับฟังความคิดเห็นออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงยุติธรรม และเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขและเว็บไซต์ของ สปสช. 2 ทำประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็น (Public hearing) 4 ภาคซึ่งได้กำหนดวันไว้เรียบร้อยแล้ว 3.ประชาพิจารณ์ แบบคอนซัลติ้ง ซึ่งจะมีการขอความเห็นงานผู้แทนหน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้อง และจะได้มีการประเมินผลกระทบจากการปรับปรุงกฎหมายใหม่นี้ ให้มีผลดีต่อพี่น้องประชาชนให้ สปสช. สามารถปฏิบัติงานได้ ถูกต้องตามหลักกฎหมาย ทีมผู้ให้บริการโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขสามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดี"นายแพทย์โสภณกล่าว
สำหรับการปรับปรุงกฎหมาย สปสช. ยังคงไว้ซึ่งเจตนารมณ์เดิมของ พรบ. โดยในการจัดซื้อยาเวชภัณฑ์เพื่อบริการประชาชนนั้น การดำเนินการที่ผ่านมาของ สปสช.เกิดข้อดีในหลายส่วน แต่อาจขัดกับเจตนารมณ์เดิมของกฎหมาย ทำให้เกิดข้อท้วงติงจากหลายหน่วยงาน เช่น สตง.เป็นต้น ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจะได้ร่วมกับ สปสช.ในการดำเนินการโดยปีงบประมาณ 2560 จะขอ มติ ครม.ให้ สปสช.จัดซื้อยาต่อไปตามงบประมาณที่ได้รับเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน ส่วนปี2561จะใช้วิธีการเดิมของ สปสช.เป็นหลักโดยกระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด ให้ระบบมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นและเป็นไปกฎหมายให้ความมั่นใจว่าประชาชนที่เจ็บป่วยที่ต้องการใช้ยาหรืออุปกรณ์ที่หายากหรือราคาแพงสามารถเข้าถึงยาหรืออุปกรณ์นั้นๆได้
ทั้งนี้ การปรับปรุงรายการกฎหมาย เป็นการดำเนินการภายใต้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วน อาทิ จากคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดระบบบริการสุขภาพ โดยได้มีการพิจารณาถึงกองทุนต่างๆ ที่ให้บริการประชาชนในประเทศทั้งหมด
*****************************20 พฤษภาคม 2560