“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 129 View
- อ่านต่อ
คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 4 (ด้านสาธารณสุข) เห็นชอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ บูรณาการบริหารจัดการภาคประชาชน เอกชน และรัฐ สร้างกลไกประชารัฐขบเคลื่อนระบบสุขภาพทุกพื้นที่ ตั้งเป้าหมายขยายพื้นที่ครบทั้ง 878 อำเภอในปี 2562
วันนี้ (29 พฤษภาคม 2560) ที่ทำเนียบรัฐบาล กทม. พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 4 (ด้านสาธารณสุข)ครั้งที่ 2/2560 โดยมี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมการประชุม
พลเรือเอกณรงค์ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาและมีมติเห็นชอบ เรื่องการพัฒนาและขยายผล“คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ (District Health Board : DHB)” ตามแนวคิด “คนไทย ใส่ใจดูแลกัน” มีเป้าหมายเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำ โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เน้นหนักในผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ เด็กปฐมวัย อุบัติเหตุ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ขยะ และสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจึงเน้นการป้องกันและจัดการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้ตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ ในรูปแบบประชารัฐ นำร่องใน 73 อำเภอ ซึ่งเป็นกลไกที่ช่วยให้เกิดการเชื่อมประสานการทำงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ในปี 2560 ได้ขยายเป็น 200อำเภอ วางแผนขยายพื้นที่เป็น 400 อำเภอในปี 2561 และครอบคลุมครบทั้ง 878 อำเภอในปี 2562 โดยจะเสนอความคืบหน้าให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
นอกจากนี้ ได้เห็นชอบให้จัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี รองรับการดำเนินงาน รวมทั้งการบูรณาการงบประมาณในการแก้ปัญหาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งปรับแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถบูรณาการการบริหารจัดการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรในภาคเอกชน ประชาชน มาบูรณาการกับภาครัฐ ส่งเสริมให้เกิดกลไกประชารัฐ ในขับเคลื่อนระบบสุขภาพครอบคุลมทุกพื้นที่ต่อไป
รวมทั้งขยายความร่วมมือบูรณาการการทำงานร่วมกันของ 4 กระทรวง ได้แก่ มหาดไทย สาธารณสุข การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาธิการ และหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมเป็นเจ้าภาพ มุ่งพัฒนาเครือข่ายประชารัฐ
ทั้งนี้ ในการดำเนินการประกอบด้วย 1.แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ โดยผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการมาจากตัวแทนภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน และรัฐ มีนายอำเภอเป็นประธาน และสาธารณสุขอำเภอเป็นเลขานุการ 2.ตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ โดยระดมทรัพยากรในพื้นที่เช่น กองทุนหมู่บ้าน/ตำบล กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และการสนับสนุนจากภาครัฐ และ3.การพัฒนาศักยภาพกรรมการระดับอำเภอและเครือข่าย
***************************************** 29 พฤษภาคม 2560